1.วิวัฒนาของละครตะวันตก

สัญญลักษณ์ (symbolism)

- ละครแนวเอปิคหรือมหากาพย์ศิลปะการแสดงละคร เป็นศิลปะที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์และจินตนาการของมนุษย์นำมาผูกเป็นเรื่องและจัดเสนอในรูปแบบของการแสดง โดยมีนักแสดงเป็นผู้สื่อ ความหมายและเรื่องราวต่อผู้ชม โดยรวมศิลปะหลายแขนงเข้าด้วยกัน เช่น การกำกับการแสดง การออกแบบสร้างฉาก การออกแบบเครื่องแต่งกาย การออกแบบและ จัดแสง รวมไปถึงดนตรี การร่ายรำ หรือการเต้นรำ

ละครตะวันตกยุคเริ่มต้น

- ยุคกรีก
- ยุคโรมัน

ละครตะวันตกในยุคกลาง

- ละครศาสนา
- ละครที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา

ละครตะวันตกในยุคฟื้นฟูวิทยา

- ละครอิตาลี
- ละครของอังกฤษในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา
ละครตะวันตกยุคในยุคปัจจุบัน

- ละครเพลง
ละครเพลง (อังกฤษ: Musical theatre) เป็นรูปแบบของละครที่นำดนตรี เพลง คำพูด และการเต้นรำ รวมเข้าด้วยกัน การแสดงอารมณ์ ความสงสาร ความรัก ความโกรธ รวมไปถึงเรื่องราวที่บอกเล่าผ่านละคร ผ่านคำพูด ดนตรี การเคลื่อนไหว เทคนิคต่าง ๆ ให้เกิดความบันเทิงโดยรวม ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 การแสดงละครเพลงบนเวทีจะเรียกว่าง่าย ๆ ว่า มิวสิคัล (musicals) ละครเพลงมีการแสดงทั่วไป ทั่วโลก อาจจะแสดงในงานใหญ่ ๆ ที่มีทุนสร้างสูงอย่าง เวสต์เอนด์ และ ละครบรอดเวย์ ในลอนดอนและนิวยอร์กซิตี หรือโรงละครฟรินจ์ที่เล็กลงมา , ออฟ-บรอดเวย์หรือ การแสดงท้องถิ่น, ทัวร์ละครเพลง หรือการแสดงสมัครเล่นในโรงเรียน มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ในอังกฤษและอเมริกาเหนือ ละครเพลงมีความโดดเด่นในหลายประเทศในยุโรป ละตินอเมริกาและเอเชีย ละครเพลงที่มีชื่อเสียงเช่น Show Boat, Oklahoma!, West Side Story, The Fantasticks, Hair, A Chorus Line, Les Misérables, The Phantom of the Opera, Rent และ The Producers

- ละครสมัยใหม่
ละครสมัยใหม่ (Modern Drama) แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่
-ละครสัจจนิยม (realism) และ ธรรมชาตินิยม (naturalism) ทั้งสองแนวถือเป็นละครที่เกิดขึ้นมาต้านกระแส Romance และ Melodrama จะเน้นความเป็น Realistic คือความสมจริง ซึ่งได้อิทธิพลจาก สัทธิสัจจนิยม (Realism) ซึ่งหลังๆจะกลายเป็นลัทธิธรรมชาตินิยม (Naturalism) คือเน้นความเป็นธรรมชาติที่ไม่ต้องการแต่งเติมอะไรทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นหน้าตา หรือลักษณะการดำเนินชีวิต แต่สำหรับละครจะเน้น Realistic
นอกจากนี้ยังมีละครอีกหลายแนวที่ถือเป็นละครสมัยใหม่ ได้แก่
-ละครต่อต้านสัจจนิยม (anti-realism)
-ละครแนว
-ละครแนวเอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ (expressionism)
-ละครแนวเอพพิค (epic)
-ละครแนวแอบเสิร์ด (absurd)

2. ประเภทของละครตะวันตก

ละครตะวันตก สามารถแบ่งได้ตามโครงเรื่อง ได้แก่ ประเภทโศกนาฏกรรม และประเภทสุขนาฏกรรม
21.ละครประเภทโศกนาฏกรรม
ปัจจุบันนั้น ละครโศกนาฏกรรม (Tragedy) ได้มีการผันเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ซึ่งทำให้เกิดลักษณะที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา อย่างไรก็ตาม นักการละครจะพอสรุป ลักษณะสำคัญที่ “เปลี่ยนไม่ได้” คือ
1. ละครโศกนาฏกรรมต้องแสดงให้เห็นความทุกข์ทรมานของชีวิตมนุษย์ (เช่น โลภ โกรธ หลง ฯลฯ) และจมลงด้วยหายนะของตัวละครเอก ซึ่งหายนะดังกล่าวนั้น เป็นผลที่เกิดจากสิ่งที่ตัวละครได้กระทำลงไป (ฉะนั้นการให้ตัวละครประสบอุบัติเหตุแบบไม่มีที่มาที่ไป หรือเช่นฟ้าผ่าตายก็จะไม่ใช่ลักษณะนี้)
2. ตัวละครเอกจะมีสิ่งที่เรียกว่า Tragic Greatness (ความยิ่งใหญ่) ควบคู่ไปกับ Tragic Flaw (ความอ่อนแอ) กล่าวคือ
Tragic Greatness เป็นความยิ่งใหญ่ของตัวละครเช่นชาติกำเหนิดหรือสถานะทางสังคม หรือมีนิสัยเกินกว่าคนธรรมดาในอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นมีความกล้าหาญ มาก มีคุณธรรมมาก ซึ่งจากลักษณะดังกล่าวทำให้ตัวละครเอกของละครโศกนาฏกรรมมักจะไม่ใช่คนธรรมดาทั่วไปเนื่องจากจะต้องเป็นตัวอย่างของวีรบรุษ (Hero)
Tragic Flaw คือจุดอ่อนและข้อบกพร่องบางประการในนิสัยของตัวละครเอก อันนำมาซึ่งหายนะ เช่นความหยิ่ง ขี้หึง โลภ ฯลฯ

3. ทุกฉากของละครโศกนาฏกรรมจะแสดงถึงความทุกข์ทรมานเพื่อให้ผู้ชมเกิดความรู้สึก Pity and Fear (สงสารและหวาดกลัว) ซึ่งการจะเกิดความรู้สึกดังกล่าวได้นั้น ละครจะต้องทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกร่วมก่อน นั่น คือ Imvolvement เพื่อนำไปสู่ Identification
กระบวนการดังกล่าวพอจะสรุปเป็นขั้นๆ ได้คือ
- ผู้ชมดูละครแล้วเกิดความรู้สึกร่วม – Imvolvement
- เมื่อการแสดงดี ผนวกกับบทละครที่ยอดเยี่ยมและองค์ประกอบร่วมอื่นๆ คนดูจะแยกตัวเองออกจากตัวละคร ไม่ได้เลยจนรู้สึกว่าตัวเองเป็นตัวละครไป (หรืออีกนัยหนึ่งคือการ “ลืมตัวตน”) – Identification
- เมื่อคนดูรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับตัวละคร ก็จะเกิดความรู้สึก Pity and Fear จากชะตากรรมที่ตัวละครกำลังประสบ
- จากหายนะที่ตัวละครประสบ คนดูซึ่งรู้สาเหตุของสิ่งต่างๆ รู้ที่มาของหายนะ ก็จะเข้าใจ “สาเหตุแห่งทุกข์” – enlightment
4. ละครโศกนาฏกรรมจะนำผู้ชมไปสู่ Cathasis ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของละครโศกนาฏกรรม กล่าวคือหากดูละครจนจบแล้วไม่เกิด Cathasis นั้นจะถือเป็นการ สูญเปล่า โดย Cathasis นั้นคือการยกระดับจิตใจ ชำระจิตใจของผู้ชมให้บริสุทธ์ (เช่นรู้ตัวว่าไม่ควรหูเบาแบบ Othello ไม่ทะเยอะทะยานแบบ Macbeth) ขณะ เดียวกันก็เป็นการให้ผู้ชมได้ระบายอารมณ์ที่คั่งค้างไว้ในใจหรือที่อยู่ในระดับจิตไร้สำนึกออกมา ซึ่งจะระบายไปกับความรู้สึกร่วมกับตัวละคร (Imvolvement)
ส่วนหนึ่งที่ความคิดเรื่อง Cathasis สำคัญมากกับละครโศกนาฏกรรมซึ่งกำเหนิดจากชาวกรีก ก็เพราะชาวกรีกนั้นเชื่อในเรื่องของชะตากรรม (Fate) ว่ามักดลบันดาล ให้มนุษย์เจอกับความทุกข์ทรมาน ซึ่งมนุษย์ต้องยอมรับและปลงตกดั่งที่เห็นได้จากการชมละครว่าแม้ตัวละครจะมีความเก่งกาจยิ่งใหญ่ขนาดไหน ก็ยังพบกับหายนะ ได้ ผู้ชมที่เป็นคนธรรมดาเองก็หนีกฏธรรมชาตินี้ไม่ได้ เมื่อตระหนักได้เช่นนี้แล้ว ผู้ชมก็จะชำระจิตวิญญาณให้บริสุทธ์ ไม่เกิดกิเลสให้ไขว่ขว้าหรือหาสิ่งที่นำมาซึ่ง ความทุกข์
นอกจากนี้แล้ว ผู้ชมที่ได้ดูละครโศกนาฏรรมนั้นจะรู้สึกได้ว่าการเป็นมนุษย์นั้นถือเป็นสิ่งที่ดีเนื่องจากรู้ว่ามนุษย์มีความยิ่งใหญ่ในด้านต่างๆ (เช่นการไม่ยอมแพ้ต่อ ชะตากรรมของตัวละครแม้จะต้องเจอหายนะเพียงใด) และก็จะเกิดความรู้สึกสูงส่งทางจิตใจ อยากพัฒนาตัวเองให้เป็นดั่งตัวละครในด้านของ Tragic Greatness
5. ละครโศกนาฏกรรมถือว่ามีคุณค่าสูงสุด กล่าวคือมีคุณค่าทางวรรณศิลป์อย่างสูงสุด
(ลักษณะต่างๆ ที่กล่าวมานั้นคือลักษณะเด่นของละครประเภทโศกนาฏกรรม ซึ่งเมื่อเข้าสู่ยุคละครสมัยใหม่แล้ว ก็เริ่มมีการเขียนบทละครโศกนาฏกรรมโดยใชัตัว ละคร ที่เป็นคนธรรมดาขึ้นมาอย่างเช่นกรณีเรื่องของ Death of a Saleman (Arthur Miller) ซึี่งนำไปสู่การถกเถียงในเชิงวิชาการละครเกี่ยวกับขอบเขตของ โศกนาฏกรรม และการเกิด Tragedy of the common man โดยแม้ว่าตัวละครจะไม่ใช่ Tragic Hero แบบในสมัยละครกรีก แต่ด้วยเรื่องเองก็ยังเข้าข่ายลักษณะดัง กล่าวอยู่ดี)
2.2 ละครประเภทสุขนาฏกรรม
ละครสุขนาฏกรรม (Comedy)จะแสดงความบกพร่องของมนุษย์ ที่ไม่ใช่ความพิการ แต่จะเป็นความผิดพลาดที่เป็นอุปสรรคที่ทำให้ชีวิตยุ่งยากมากขึ้น แต่จะนำเสนอแบบไม่จริงจัง เหมือน Tragedy แสดงให้เห็นถึงความไร้สาระของมนุษย์ และมักสะท้อนให้ผู้ชมเห็นชีวิตตัวเองอย่างขบขัน และต่างจาก Tragedy ตรงที่ตัวเอกจะได้สิ่งที่สูญเสียคืนมา หรือได้ในสิ่ง ที่ตามหา ชนะอุปสรรคทุกอย่าง ทำให้สังคมและโลกเจริญขึ้น จบแบบ happy ending ละครสุขนาฏกรรมมีหลายชนิดเช่น
1. ละครตลกสุขนาฏกรรม Romantic comedy เช่น ตกกระไดหัวใจพลอยโจร
2. ละครตลกสถาการณ์ (Sit-com หรือ Situation-comedy) พวกตลกสถานการณ์
3. ละครตลกโครมครามSlapstick comedyพวกตลกที่เล่นกับความเจ็บปวดของร่างกาย พวกตลกคาเฟ่
4. ละครตลกร้าย (Black comedy) พวกตลกร้าย เช่นตลก69 หรืออย่าง Death becomes hers อย่างที่ตอนที่นางเอกถูกยิงท้องโหว่ แต่ยัง เดินได้
5. ละครตลกผู้ดี (Comedy of Manner or High comedy) คือการเอาลักษณะท่าทางของพวกผู้ดีมาล้อเลียน
6. ละครตลกเสียดสี (Satiric comedy)
7. ละครตลกความคิด (Comedy of ideas)
8. ละครตลกรักกระจุ๋มกระจิ๋ม (Sentimental comedy)
9. ละครตลกโปกฮา (Farce) พวกตลกตีหัว มักจะเป็นตลกที่เอะอ่ะ ตึงตัง ตลกท่าทาง เน้นความเจ็บปวด ความพิกลพิการเช่น ระเบิดเถิดเทิง สามเกลอหัวแข็ง (บางตำราแยกเป็นคนละพวกกับ Comedy
10. ละครตลกเศร้าเคล้าน้ำตา (บางคนเอาไปรวมกับพวกหนังรัก)

3. ลักษณะการนำเสนอละครตะวันตก

ลักษณะการนำเสนอละครตะวันตก
หมายถึงการสื่อสารสถานการณ์ต่างๆของละครไปยังผู้ชมเพื่อให้ตรงกับเป้าหมายที่ผู้ประพันธ์บทละครกำหนดไว้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ลักษณะ

1.การนำเสนอละครแบบไม่เหมือนจริง(presentational style)
การนำเสนอแบบไม่เหมือนจริงถือเป็นการเสนอละครที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้ชมทราบว่าเป็นการเสดงไม่ใช่ชีวิตจริง ดังนั้น การจัดฉากละครจึงสร้างสรรค์ให้ดูสวยงาม หรูหรา ตระการตา เครื่องแต่งกายของตัวละครจะหรูหรา ระยิบระยับพรั่งพร้อมไปด้วยเครื่องประดับ
ภาษาที่ตัวละครพูด จะเป็นลักษณะโครงฉันท์ กาพย์ กลอน ใช้อุปกรณ์ตกแต่งฉากและอุปกรณ์ประกอบการแสดง เช่น หน้ากาก เพื่อเป็นเครื่องเตือนให้ผู้ชมทราบว่า กำลังดูละครที่แสดงบนเวทีซึ่งเป็นการนำเสนอละครของนาฏศิลป์เกือบทุกประเทศ เช่น งิ้วของจีน กถักลิฬิของอินเดีย และโขนของไทยเป็นต้น
การนำเสนอละครแบบไม่เหมือนจริงเป็นแนวการแสดงที่มาจากปรัชญา จิตนิยม ผู้ชมต้องใช้จินตนาการอย่างสูงเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทวาตำนานที่มีความขลัง ความ ศักดิ์สิทธิ์มีพลังสร้างความประทับใจแก่ผู้ชม จนกลายเป็นพิธีกรรมทางศาสนา การนำเสนอละครแบบไม่เหมือนจริงนี้ มีทั้งประเภทสุขนาฏกรรมและโศกนาฏกรรม เช่น ละครสุขนาฏกรรมของกรีกโบราณ ที่เรียกว่า ละครซาตีร์(satry)
ทั้งนี้ละครแบบไม่เหมือนจริง ประเภทโศกนาฏกรรม เช่นเรื่องกษัตริย์อิดิปุส (King Oedipus)บทประพันธ์ของโซโฟคลิสเป็นละครโศกนาฏกรรมของกรีก อาศัยเ ค้า โครงเรื่องจากเทวตำนาน กล่าวถึง อิดิปุสโอรสขอกษัตริย์แห่งนครธิบิสเมื่อแรกเกิดมีคำทำนายว่าเขาจะฆ่าบิดาและแต่งงานกับมารดาจึงถูกนำไปทิ้งไว้บนยอดเขา เพื่อให้ตายแต่อิดิปุสได้รับความช่วยเหลือจากษัตริย์แห่งนครโครินธ์ เลี้ยงดูเป็นบุตรบุญธรรมเมื่ออิดิปุสโตขึ้นและรู้เรื่องคำทำนายจึงหนีออกจากนครโครินธ์เพราะไม่รู้ ว่าตนเป็นบุตรบุญธรรมทั้งนี้เขาตั้งใจหนีให้พ้นจากคำทำนายระหว่างทางเขาได้พบกับชายแปลกหน้าเกิดถกเถียงและขันแย้งกันอย่างรุนแรงเขาจึงฆ่าชายผู้นั้นตาย โดยมิได้เฉลียวใจว่าชายผู้นั้นคือบิดาต่อมาเขาได้เป็นกษัตริย์ของธิบิส และแต่งงานกับโจคาสต้าผู้ซึ่งเป็นมารดาของเขา เมื่อธิบิสเกิดภัยพิบัติ อิดิปุสจึงสั่งให้หา สาเหตุและเมื่อรู้ความจริงทั้งหมดเขาจึงยอมรับชะตากรรม โดยการควักลูกตาตนเองเป็นต้น
เช่นเรื่อง

2. การนำเสนอละครแบบเหมือนจริง(Representational style) เป็นการนำเสนอการแสดงละครที่มุ่งแสดงซึ่งสภาพชีวิตจริงไม่เพ้อฝัน ตัวละครต้องเป็นคนจริงๆ มิใช่ตัวละครที่มีปาฏิหาริย์เหาะเหินเดินอากาศได้ หรือมีอาวุธวิเศษที่จะทำรายล้างผู้ต่อสู้มีอำนาจใจการสาปแช่ง ภาพที่ปรากฏบนเวที สถานที่เครื่องตกแต่งฉาก อุปกรณ์การแสดงต้องเป็นภาพที่ปรากฏในชีวิตจริงการนำเสนอแบบเหมือนจริงนี้เกิดขึ้นเมื่อวิทยาศาสตร์เจริญรุ่งเรืองแพร่หลายทำให้มีอิทธิพลต่อแนวคิดของมนุษย์ ที่ต้องการของจริงมีเหตุพิสูจน์ได้
ไม่หลงงมงายจากภาพลวงตาที่เกิดขึ้นในการแสดงละครเหมือนในอดีตการนำเสนอละครแบบเหมือนจริงมีทั้งประเภทสุขนาฏกรรมและโศกนาฏกรรม
ละครแบบเหมือนจริงประเภทสุขนาฏกรรมเช่นเรื่อง “สุภาพสตรีหนึ่งผู้ร้ายสอง” (Two crook and a lady) ละครนี้เป็นละครที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งเพราะดำเนินเรื่อง น่าตื่นเต้นด้วยความฉลาดของหญิงชราที่อัมพาตสามารถเอาชนะผู้ร้ายสองคนได้
ละครแบบเหมือนจริงประเภทโศกนาฏกรรมเช่นเรื่อง “อวสานของเซลมอน”(Death of Salesman) เป็นละครที่มีชื่อเสียงมากของอาเธอร์มิเลอร์ เป็นการแสดง ครั้งแรกในปี ศ.ส. 1949 ที่โรงละครบรอดเวย์เมื่อจบการแสดงผู้ชมลุกขึ้นยืนปรบมือให้กับผู้ชมอย่างสนั่น
เป็นละครที่สะเทือนอารมณ์ของชาวอเมริกันเพราะเป็นเรื่องที่แสดงภาพชีวิตความฝัน ความหวังและความผิดหวังอย่างใกล้เคียงกับชีวิตจริงที่สุด
เรื่องย่อ อวสานของเซลแมน
วิลี่ โลแมน กลับมาถึงบ้านอย่างสิ้นเรี่ยวแรงหลังจากการยกเลิกไปทำงานที่ รินดาภรรยาของเขากังวลเรื่องสภาพจิตใจและการที่วิลลี่มีอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อเร็วๆนี้ เธอแนะนำให้เขาขอร้องฮาวเวิร์ด วากเกอร์เจ้านายของเขาว่า ขอให้ได้ทำงานอยู่ได้เฉพาะเดือนนี้ เพื่อที่เขาจะได้ไม่ต้องขับรถไกลอีก วิลลี่บ่นกับรินดา เรื่อง บิฟฟ์ลูกชาย ที่ชีวิตการงานไม่ไปถึงไหนเลยบิฟฟ์ไม่เคยเข้าเรียนมหาวิยาลัยเพราะสอบตกคณิตศาสตร์ ทั้งๆที่เขาเป็นดาวกีฬาในระดับมัธยมปลายที่มีอนาคตที่ สดใส บิฟฟ์กับน้องชายชื่อแฮปปี้ ซึ่งอยู่ระหว่างกลับมาเยี่ยมบ้านเหมือนกับกำลังคุยเรื่องความหลังในวัยเด็กอยู่ เขาคุยเรื่องอาการทางจิตที่ย่ำแย่ของพ่อซึ่งทั้งสอง เจออารมณ์ที่แปรปรวนและการที่พ่อพูดคนเดียวประจำ เมื่อวินลี่เดินเข้ามา รู้สึกโมโหลูกทั้งสองคนที่ไม่ประสบพบความสำเร็จอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเพื่อที่จะตามใจพ่อ บิฟฟ์กับแฮปปี้บอกกับวิลลี่ว่า บิฟฟ์กำลังจะไปหางานทางธุรกิจในวันรุ่งขึ้น วันต่อมาที่ทำงานของวิลลี่โมโหและเกรี้ยวกราดทวงบุญคุณกับฮาวเวิร์ดเจ้านายที่ไม่ยอม ตกลงให้ได้ทำงานในเมื่อตามที่ขอ ฮาวเวิร์ดจึงไล่วิลลี่ออกโดยให้เหตุผลว่าไม่สามารถเป็นตัวแทนของบริษัทได้ และควรเกษียณไปพักผ่อนได้ ขณะเดียวกันที่ บิฟฟ์ไม่ได้งานทางธุรกิจหลังจากที่ได้พบกับเจ้านายเก่าของเขาหลังจากที่รอเป็นชั่วโมงๆอดีตเจ้านายเก่าจำเขาไม่ได้ด้วยซ้ำไป
หลังจากนั้นวิลลี่ไปที่ที่ทำงานของชาร์ลีเพื่อนบ้านบังเอิญเข้าเจอกับเบอร์นาร์ดลูกชายของชาร์ลี(ซึ่งตอนนั้นเป็นนักกฎหมายที่ประสบผลสำเร็จ)เบอร์นาร์ด บอกกับเขาว่าตอนแรกบิฟฟ์ต้องการไปเรียนซ่อมที่โรงเรียนกวดวิชา แต่ไม่รู้เกิดอะไรขึ้นที่บอสตันตอนที่บิฟฟ์แวะไปหาวิลลี่ทำให้บิฟฟ์เปลี่ยนใจ แฮปปี้บิฟฟ์และวิล ลี่นัดกันทานอาหารค่ำกันที่ภัตตาคารวิลลี่ไม่อยากไปฟังข่าวร้านจากบิฟฟ์แฮปปี้พยายามให้บิฟฟ์โกหกพ่อแต่เขาพยายามบอกพ่อว่าที่จริงเกิดอะไรขึ้นแต่ในขณะที่วิล ลี่กำลังโกรธและตกอยู่ในภวังค์ของเขาสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตที่บอสตันที่บิฟฟ์ไปหาเขาบิฟฟ์เขาพ่ออยู่ในโรงแรมกับผู้หญิงคนหนึ่งบิฟฟ์เสียความรู้สึกและมองพ่อ เปลี่ยนไปบิฟฟ์ออกไปจากภัตตาคารไปอย่างกลัดกลุ้มใจแฮปปี้ตามไปกับผู้หญิงสองคนที่แฮปปี้นำมาด้วยพวกเขาทิ้งวิลลี่สับสนหัวเสียไว้ในภัตตาคารเมื่อทั้งสองคน กลับไปที่บ้านแม่โมโหมากที่ทั้งสองทิ้งพ่อไว้ลำพังที่ภัตตาคาร
ในขณะนั้น วิลลี่กำลังพูดคนเดียวอยู่นอกบ้านบิฟฟ์ตามออกไปข้างนอกเพื่อจะทำความเข้าใจกับพ่อแค่แป๊ปเดียวก็ลามไปทะเลาะกันเรื่องอื่นๆจนถึงจุดหนึ่งที่ บิฟฟ์พยายามที่จะบอกพ่อว่าเขาไม่อยากประสพความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่อะไรเขาทั้งสองอย่างเป็นคนธรรมดาๆบิฟฟ์กอดพ่อและร้องไห้ขณะที่เขาพยายามบอกให้พ่อ เลิกยึดติดกับความฝันที่ไม่สอดคล้องกับความจริงเกี่ยวกับลูกชายและอยากให้พ่อยอมรับตัวลูกตามที่เขาเป็นอยู่จริงๆบิฟฟ์บอกพ่อว่าเขารักพ่อ แทนที่จะฟังความจริง ที่บิฟฟ์พูดออกมาวิลลี่กลับเข้าใจว่าลูกชายได้ให้อภัยเขาแล้วและคิดว่าบิฟฟจะสานฝันการเป็นนักธุรกิจให้เป็นจริงวิลลี่ตังใจฆ่าตัวตายให้เป็นลักษณะการเกิด อุบัติเหตุทางรถยนต์เพื่อบิฟฟ์จะได้เงินจากประกันชีวิตไปเริ่มธุรกิจของตัวเองอย่างไรก็ตาม ในงานศพบิฟฟ์ยืนยันความตั้งใจที่จะไม่เป็นนักธุรกิจตรงข้ามกับแฮปปี้ที่ จะเลือกเดินตามรอยพ่อ
เช่นเรื่อง
อวสานของเซลแมน
แรงเงา
ATM เออรักเออเร่อ

4. ละครสร้างสรรค์

ละครสร้างสรรค์ (Creative Drama)
ในขณะที่การแสดงบทบาทสมมติ (Role Play) ในการเล่นของเด็กๆ โดยทั่วไปนั้นเป็นไปแบบไร้กฏเกณฑ์ที่ชัดเจนเป็นการเล่นแบบเสรีตามใจชอบ จึงเป็นเรื่องปกติ ที่เด็กๆ จะเปลี่ยนการเล่นแบบหนึ่งไปสู่อีกแบบหนึ่ง หรือบางครั้งก็ดูเหมือนว่าเด็กๆ เล่นเรื่องเดิมซ้ำๆ กัน แต่ไม่มีการดำเนินเรื่องที่ชัดเจน บ่อยครั้งที่การเล่นสมมติ เป็นเพียงกิจกรรมสมมติที่เลียนแบบสิ่งที่พวกเขาได้พบเห็นในชีวิตประจำวัน แต่ไม่มีการพัฒนาในเชิงเนื้อเรื่อง เนื้อหา หรือตัวละคร ดังนั้น หากผู้ใหญ่สามารถที่จะ จัดประสบการณ์ในการเล่นสมมติของเด็กให้กลายเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ด้วย ก็นับได้ว่าผู้ใหญ่ช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้และพัฒนาด้วยตัวของเขาเอง
ละครสร้างสรรค์ (Creative Drama) เป็นรูปแบบการเล่นสมมติที่ได้ผ่านกระบวนการจัดเตรียมข้อมูลและวางแผนการเล่นให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของผู้ ร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมสามารถรับประโยชน์สูงสุดจากการเล่นโดยที่ยังรักษาไว้ซึ่งธรรมชาติของ
การแสดงบทบาทสมมุติ เป็นการแสดงออกด้วยท่าทางโดยไม่มีบทพูดผู้แสดงจะต้องมีความเชื่อมั่นต่อบทบาทที่แสดง คือ เชื่อว่าบทบาทที่ตนเองแสดงเป็นเรื่อง จริง ผู้แสดงจะต้องมีความพร้อมที่จะใช้ร่างกาย อารมณ์ ความคิดและจิตใจ หรือมีความพร้อมที่จะนำประสาทสัมผัสทั้ง 5 มาใช้ในการแสดงให้
ประเภทการแสดงบทบาทสมมุติ
1) การแสดงอบบาทสมมุติแบบเตรียมบทบาทแล้ว
2) การแสดงบทบาทสมมุติโดยฉับพลัน
3) การแสดงบทบาทสมมุติจากสถานการณ์ที่กำหนดขึ้น
การสมมุติเป็นกระบวนการสำคัญที่ผู้แสดงต้องสร้างอารมณ์ให้สะท้อนถึงความเป็นตัวละครได้อย่างสมจริง โดยผู้แสดงต้องสมมุติว่า ถ้าตนเองเป็นตัวละครที่สวม บทบาทอยู่นั้นจะทำอย่างไรต่อสถานการณ์ที่ตนกำลังเผชิญอยู่

หลักการแสดงบทบาทสมมุติ
1) การสมมุติ คือ การที่ผู้แสดงจะต้องถ่ายทอดบุคลิกและนิสัยใจคอของตัวละครออกมาให้สมจริงมากที่สุด โดยสมมุติว่าถ้าผู้แสดงเป็นตัวละครตัวนั้นแล้ว จะ ทำอย่างไรต่อสถานการณ์จำลองที่กำหนดขึ้น
2) สถานการณ์จำลอง ผู้แสดงจะต้องเข้าใจสถานการณ์จำลองว่าถ้าเกิดเหตุการณ์หรือสถานการณ์อย่างนี้แล้ว ตัวละครต้องทำอะไร และมีเหตุผลอย่างไร
3) จินตนาการ ผู้แสดงต้องใช้จินตนาการให้ถูกต้อง โดยฝึกจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้คนที่อยู่รอบ ๆ ข้างในชีวิตประจำวัน และเปรียบเทียบสิ่งต่าง ๆ ที่เกิด ขึ้นรอบ ๆ ตัว
4) การสร้างความเชื่อ ผู้แสดงจะต้องทำให้คนดูเชื่อว่า การแสดงที่ปรากฏอยู่ต่อหน้าสมจริง
5) การสื่อสารกับผู้อื่น ผู้แสดงจะต้องทำให้คนดูเข้าใจความหมายและเหตุผลของตัวละครที่สวมบทบาทอยู่นั้นและมีความรู้สึกร่วมกับการแสดง
6) การสร้างสมาธิ ผู้แสดงต้องไม่ประหม่าและต้องทำตัวสบาย ๆ เหมือนไม่มีใครมาสนใจ แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้แสดงไม่สนใจคนดู

1.ละครประเภทโศกนาฏกรรม หรือแทรจิดี (Tragedy)
เป็นวรรณกรรมการละครที่เก่าแก่ที่สุด และมีคุณค่าสูงสุดในเชิง ศิลปะและวรรณคดี ละครประเภทนี้ถือก าเนิดขึ้นในประทศกรีซ และ พัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์ภายใต้ของการน าของเอสคิลุส โซโฟคลิส และยูริพิดีส
1.1ความหมายของคา ว่า แทรจิดี(Tragedy)
- แทร จิดีแปลว่าเพลงแพะซึ่งมาจาก ค าว่า ทราโกส ซึ่งแปลว่าแพะ และโอด แปลว่าเพลง
- ละครประเภทนี้ก็ได้เกิดในประเภทนี้ได้ถือก าเนิดในประเทศกรีซ สมัยที่ชาวกรีกนับถือเทพเจ้าไดโอไนซุส ซึ่งเป็นเทพเตจ้าแห่งเจ้าองุ่น พืชพันธ์ธัญญาหาร ฤดูใบไม้ผลิความอุดมสมบูรณ์และชีวิต
- ช่วงแรกการบวงสรวงนั้นจะขับร้องเพลงดิธีแรมบ์โดยใช้มนุษย์เป็น เครื่อง บูชายัญ แต่หลังจากนั้นมาเห็นว่าเป็นการทารุนจึงใช้การให้ รางวัลเป็นแพะแทน ดังนั้นละครประเภทแทรจิดีจึงถือก าเนิดมาจาก การร้องเพลงดิธีแรมบ์
1.1.1แทรจิดีพัฒนามาจากเพลงดีธีแรมบ์ได้อย่างไร
- ผู้ริเริ่มปรัพันธ์ค าร้องในบทสวดบูชาที่เรียกว่า ดีธีแรมบ์ขึ้นเป็นครั้ง แรกเพื่อไห้ คอรัส ขับร้องในการบวงสรวงบูชาเทพเจ้าไดโอไนซุส
- คนส าคัญทางบุคคลส าคัญทางประวัติศาสตร์ทางการละครชื่อ ว่า Thespis ได้ปรับปรุงแก้ไขวิธีการขับร้องเพลงดีธีแรมบ์ด้วยการริเริ่มให้มี นักแสดง คนแรกขึ้นเพื่อสามารถให้มีบทเจรจาโต้ตอบกับคอรัสได้ และต่อมาก็ได้มีผู้ปรับปรุงแก้ไขบทละครประเภทนี้ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น คือ เอสคิ ลุสได้เพิ่มนักแสดงเป็น 2 คน
- โซโฟคลีสได้เพิ่มนักแสดงขึ้นเป็น 3 คน และเพราะเหตุนี้ จึงท าให้เกิด ประเพณีนิยมของละครกรีกโบราณว่า จะต้องมีกลุ่มคอรัสและตัวละครซึ่งมี บทเจรจาโต้ตอบกันในฉากหนึ่งๆไม่เกิน 3 คน
1.2ลักษณะส าคัญของละครประเภทแทรเจดี (Tragedy)
ละคร ประเภทแทรเจดีได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมการละครที่ ดีเด่นเหนือวรรณกรรม การละครประเภทอื่นๆ ลักษณะส าคัญของแทรเจดี ทุกสมัยก็ยังมีหลายประการที่คล้ายคลึงกันเป็นต้นว่า
1.2.1 ต้องเป็นเรื่องที่แสดงถึงความทุกข์ทรมานของมนุษย์และจบลง ด้วยความหายนะของตัวเอก
1.2.2 ตัวเอกของแทรเจดีต้องมีความยิ่งใหญ่เหนือคนทั่วๆไป แต่ใน ขณะเดียวกันจะต้องมีข้อบกพร่องหรือผิดพลาดที่เป็นสาเหตุของความ หายนะที่ได้รับ
1.2.3 ฉากต่างๆที่แสดงถึงความทรมานของมนุษย์จะต้องมีผลท าให้ เกิดความรู้สึกสงสารและความกลัวอันจะน าผู้ชมไปสู่ความเข้าใจในชีวิต
1.2.4 มีความเป็นเลิศในเชิงศิลปะและวรรณคดี
1.2.5 ให้ความรู้สึกอันสูงส่งหรือความรู้สึกผ่องแผ้วในจิตใจและการชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์
2.1 คอเมดี(Comedy) เป็น ละครที่มีลักษณะเป็นวรรณกรรมบางเรื่องเป็นวรรณกรรม ชั้นสุง นับเป็นวรรณคดีอมตะของโลกเช่นสุขนาฏกรรมของเชคเปียร์ ละครตลกประเภทเสียดสีของโมลิแยร์และตลกประเภทความคิด ของ จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ ที่มาของละครประเภทฟาร์ส
- ผู้เชี่ยวชาญทางการละครหลาย ท่านมีความเห็นว่าฟาร์สเป็นจุดเริ่มต้นของละคร ตลกโดยทั่วไป คงจะ เกิดจากธรรมชาติและความผิดพลาดของมนุษย์ที่รู้จักหัวเราะให้กับข้อ บกพร่องและความผิดพลาดของตนเองและผู้อื่น ละครประเภทนี้เชื่อ กันว่าการแสดงตลกดังกล่าวมีมาตั้งแต่สมัยดึกด าบรรพ์นับตั้งแต่ มนุษย์ เริ่มจะมีความเป็นอยู่ที่ดีพอ มนุษย์ก็เริ่มน าการแดงที่ชวน ขบขันเข้ามาแทรกในการแสดงที่เคยเป็นพิธีศักสิทธิ์มาตั้งแต่เดิม
2.ละครประเภทตลกขบขันหรือที่เรียกว่าฟาร์ส และคอมเมดี
ละครประเภทตลกขบขันมีมากมายหลายชนิด ฉะนั้น ในการแบ่ง ละครประเภทนี้จึงไม่อาจใช้กฎเกณฑ์ที่ตายตัวจนเกินไป
จึงทำให้ผู้ ศึกษาต้องเข้าใจลักษณะของละครตลกแต่ละประเภท ตามหลักของ ทฤษฎีของการละครเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปนั้นมักจะถือว่า ละคร ประเภทตลกขบขันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือฟาร์ส และ คอเมดี
2.1ฟาร์ส
- ละครชนิดตลกโปกฮา ให้ความตลกจากเหตูการณ์ที่เหลือเชื่อ ตลอดจน การแสดงที่รวดเร็วและเอะอะตึงตัง
- ผู้วิจารณ์มักดูถูกละครประเภทนี้ว่าไร้ค่าแต่แท้จริงแล้วละครประเภท ฟาร์ส เป็นละครที่ดีเป็นศิลปะที่มีคุณค่าทางละครไม่แพ้ละครประเภทอื่นๆ เช่นภาพยนตร์ ของชาลีแชปลิน ที่แฝงไว้ด้วยหลักปรัชญาที่ลึกซึ้งไม่แพ้ หลักปรัชญาที่เราได้จากละครประเภท อื่นๆ
ความรู้สึกขบขันเกิดขึ้นได้อย่างไร
- คนเราะมักจะหัวเราะเมื่อเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดผิดแผกไปจากปกติวิสัยซึ่งเกิดจากความโง่เขลาเบาปัญญาความอ่อนแอของมนุษย์นั้นเอง
- ละครประเภทฟาร์สนี้มักจะเรียกเสียงหัวเราะจากการพลิก ความหมายของผู้ชมด้วย สถานการณ์ที่เหลือเชื่อและเกือบไม่มีทางเป็นไป ได้ในโลกแห่งความงามเป็นจริงแต่
- ในโลกของฟาร์สคนดูจะยอมรับว่ามัยเป็นไปได้ตราบใดที่นักแสดง ให้ความจริงใจกับ บทบาท และหลักส าคัญอีกประการหนึ่งในการ สร้างสรรค์ละครประเภทฟาร์สก็คือ ผู้ชมจะหัวเราะตราบใดที่สามารถเชื่อ ในบทบาทและความจริงใจของตัวละคร
จากฟาร์สสู่คอเมดี
ละครขั้นพื้นฐานคือ ฟาร์ส และคอเมดีก็คือตลกในขั้นที่สูงขึ้นไป ซึ่งก็มีวิวัฒนาการมาจากตลกพื้นฐานนั่นเอง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์เริ่ม มีวัฒนธรรมมากขึ้น มีขนบธรรมเนียมประเพณีและภาษาที่ไพเราะ เพราะพริ้งมากขึ้น
ที่มาของคอเมดี
- ละคร ประเภทคอเมดี เป็นละครชนิดตลกขบขัน ถือก าเนิดมาจาก พิธีเฉลิงฉลองเทพเจ้าไดโอไนซุสของกรีกเช่นเดียวกับละครประเภท แทรจิดี ในขณะที่แทรจิดีพัฒนามาจากการขับร้องดีธีแรมบ์ซึ่งเป็น ส่วนที่มีลักษณะเป็นพิธีการนั้น
- คอเมดีก็พัฒนามาจากการขับร้องเพลงสนุกสนานเฮฮา ของพวกที่ ติดตามขบวนเทวรูปของไดโอไนซุส จนกลายเป็นประเพณีนิยมที่ถือ ปฏิบัติตลอดมา
2.2.1 สุขนาฏกรรม - ละคร คอเมดีประเภทนี้ถือเป็นวรรณกรรมชั้นสูง ละครประเภทนี้นิยมใช้ เรื่องราวที่เต็มไปด้วยจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์แต่ก็เป็นเรื่องราวที่น่า เชื่อ สมเหตุสมผล
- เรื่องประเภทสุขนาฏกกรรมนี้ แม้จะจัดอยู่ในประเภทคอเมดี แต่ก็มิใช่ละคร ตลกขบขันอย่างแท้จริงเช่น คอเมดีเรื่องอื่นๆ คือมีลักษณะเป็นวรรณกรรม ละครที่มีความงดงาม
- ในแง่ภาษาและภาพบนเวทีให้ความสุขแก้ผู้ชมจากการหัวเราะ ในฉาก ต่างๆและจากการที่ตัวเอกได้พบกับความสมหวังเกี่ยวกับ ความรักใน ตอนจบ ฉะนั้น คอเมดีประเภทนี้จึงเป็นละครประเภทเดียว ในบรรดาคอเมดีทั้งหลายที่สมควรจะ เรียกว่า “สุขนาฏกรรม”
2.2.2 ละครชั้นสูง หรือ ตลกผู้ดี(Comedy of manner) ตลกชั้นสูงนี้ต่างกับละครประเภทสุขนาฏกรรม แท้จริงละครทั้ง สองประเภทนี้จัดอยู่ในระดับสูงเข้าขั้นวรรณกรรมด้วยกันทั้งคู่ แต่ที่ แตกต่างกันก็เพราะละครประเภทตลกชั้นสูงนี้เป็นตัวละครตลกอย่าง แท้จริง ตั้งแต่ต้นจนจบ และตัวเอกของเรื่องก็คือผู้ที่จะท าให้เกิดความ ตลกขบขันขึ้นที่เรียกว่า “ตลกชั้นสูง” ก็เนื่องจากเป็นละครที่ล้อเลียน เสียดสีชีวิตในสังคม ฉะนั้นละครประเภทนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ตลกผู้ดี” และละครประเภทนี้มักได้รับความนิยมอยู่ในวงจ ากัด
2.2.3 ละครตลกประเภทเสียดสี (Satire Comedy) ละคร ประเภทนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับตลกชั้นสูง แต่เน้นการเสียดสี โจมตีด้วยวิธีการที่รุนแรงกว่า ตลกประเภทนี้ผู้เขียนจะต้องมีศิลปะในการ ประพันธ์เป็นอย่างดี ต้องสามารถท าให้ผู้ชมยอมรับการโจมตีอย่างรุนแรง โดยไม่โกรธ ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวางโครงเรื่อง ดังนั้นตลกประเภทเสียดสี นี้ถือเป็นละครตลกที่เข้าขั้นวรรณกรรมอีกประเภทหนึ่ง
2.2.4 ละครตลกประเภทความคิด (Comedy of Idea) ละคร ประเภทนี้ใช้วิธีล้อเลียนและเสียดสีเช่นกันแต่เน้นเอา ความคิดความเชื่อของ มนุษย์ที่ผิดพลาด บกพร่อง มาเป็นจุดที่ท าให้ ผู้ชมหัวเราะด้วยวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้ชมกลับไปคิดแก้ไข สิ่งบกพร่อง ในความคิดและความเชื่อของสังคมโดยรวม ละครประเภทนี้มักให้ตัว ละครเป็นตัวแทนของความคิด และละครประเภทนี้ก็เกี่ยวข้องกับ ความคิดมาก จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตลกระดับสมอง
2.2.4 ละครประเภทสถานการณ์ (Situation Comedy) ละคร ประเภทนี้มักอยู่ในประเภทระดับต่าง จุดตลกเกิดจาก เรื่องราวที่สับสน อลเวง ประเภทผิดฝาผิดตัว ลักษณะการแสดงก็ มักจะออกท่าออกทางมากกว่าตลกขั้นสูง มีความใกล้เคียง ฟาร์ส ใน แง่ของเรื่องราวที่เหลือเชื่อ
2.2.5 ละครประเภทโครมคราม (Slapstick) ละครประเภทนี้มีลักษณะ เอะอะตึงตัง มักมีการแสดงประเภทวิ่ง ไล่จับกัน ละครประเภทนี้มีความแตกต่างจากคอเมดีชั้นสูงมาก และมี ความใกล้เคียงไปทางฟาร์สมากกว่า จึงนิยมนำไปรวมในหมู่ฟาร์ส ทั้งๆที่มีชื่อเรียกว่า คอเมดี
2.2.6 ละครตลกรักกระจุ๋มกระจิ๋ม และตลกเคล้าน้ำตา(Sentimental Drama) ละคร ตลกประเภทรักกระจุ๋มกระจิ๋ม และตลกเคล้าน้ำตา จัดอยู่ในประเภท ละครเริงรมย์เขียนเพื่อให้ถูกใจตลาดเช่นเดียวกับละครชีวิต ประเภทเมโลดรามา ทั้งนี้เพราะผู้เขียนให้ความเห็นอกเห็นใจตัวเอก ซึ่งมักเน้นการล้อเลียนเสียดสี โดยปราศจากความงามเห็นใจ ละครประเภทนี้จึงได้รับความนิยมมากในหมู่ โทรทัศน์ เพราะเหมาะกับผู้ที่กลับจากงานอย่างเหนื่อยอ่อนและต้องการพักผ่อน อย่างแท้จริง
สรุปลักษณะสำคัญของละครประเภทตลกขบขัน สรุปแล้วไม่ว่าจะเป็นละครประเภทไหนระดับใดไม่ว่าจะเป็นคอเมดี หรือฟาร์ส สิ่งสำคัญ คือ ละครประเภทตลกขบขันนี้มองดูโลก มนุษย์ด้วยสายตาของผู้วิจารณ์ และใช้ความคิดมากกว่าใช้อารมณ์ ท า ให้ผู้ชมรู้สึกขบขันในความต่ำต้อย ความอ่อนแอ ในขณะที่แทรจิดีท า ให้เรารู้สึกว่ามนุษย์มีความยิ่งใหญ่ และความทรมานของชีวิตเป็นสิ่งมี ค่าซึ่งนำไปสู่ความบริสุทธิ์ของจิตใจ ละครประเภท คอเมดีหรือ ฟาร์สก็ท าให้เราปลงตกว่ามนุษย์นี้ช่างโง่เง่าบกพร่องไปเสียหมดทุกอย่าง
3.) ละครอิงนิยายหรือที่เรียกว่า โรมานซ์(Romance) เป็น ละครที่มีเรื่องราวที่มนุษย์ใฝ่ฝันที่จะได้พบ พระเอกนางเอก ของละครประเภทนี้จะเป็นวีรบุรุษและวีรสตรี และตอนจบของเรื่องก็ มักจะชี้ให้เห็นคุณธรรมความดีจะต้องชนะความชั่วตลอดไป ส่วน ภาษาที่ใช้ก็มักจะไพเราะเพราะพริ้ง และนิยมเขียนเป็นแบบร้อยกรอง หือถ้าเป็นร้อยแก้วก็จะใช้ภาษาที่เต็มไปด้วยภาพพจณ์และสัญลักษณ์ ในด้านการแสดงนิยมใช้การเคลื่อนไหวแบบนุ่มนวล อาจจะใช้ลีลาที่สร้างสรรค์ขึ้นให้มีความงดงาม มากกว่าชีวิตจริงเพราะโลกของโรมานซ์นั้น เป็นโลกที่นิยายที่ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นได้
4.) ละครประเภทเริงรมย์(Melodrama) ละคร ประเภทเมโลดรามา จัดอยู่ในละครประเภทเริงรมย์ที่นัก ธุรกิจบันเทิงทั่วโลกจัดท าขึ้นเพื่อผล ประโยชน์ทางการค้าเป็นสำคัญ ฉะนั้นละครประเภทนี้จึงได้รับการเผยแพร่มากที่สุดและมีอิทธิพล สูงสุดต่อ บรรดาผู้ชมทั่วโลกในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะเป็นละครที่ดูง่าย ติดตามง่ายมีระดับอารมณ์ผิวเผินท าให้ง่ายต่อความเข้าใจ
4.1 ลักษณะละครประเภทเมโลดรามา
- เมโลดรามาคือละครเร้าอารมณ์ที่เขียนขึ้นเพื่อให้ถูกใจตลาด มุ่งให้ ความบันเทิงด้วยการผูกเรื่องที่ด าเนินไปอย่างตื่นเต้นโลดโผน ตัวละครมี นิสัยตายตัว
- ตัวละครอีกตัวที่ส าคัญที่มักก็จะมีในเมโลดรามาก็คือผู้ร้าย ซึ่งต้องร้าย มากจนหาความดีมิได้ คือตัวละครไม่มีการพัฒนาเลยในด้านนิสัยใจคอ คือถ้าดีก็ดีไปตลอด ร้ายก็ร้ายตลอด หรือถ้ามีการเปลี่ยนแปลงก็จะ เปลี่ยนแปลงแบบไม่น่าเชื่อ และจะมีการนำเสนอแบบตื่นเต้นเร้าใจ
- เทคนิคในการน าเสนอละครให้ชวนตะลึง ดังนั้นความหมายที่แท้จริง ของ เมโลดรามาคือ ละครที่ถือความส าคัญของโครงเรื่อง หรือความ สนุกสนานของการด าเนินเรื่องเป็นใหญ่
4.2 ประวัติ และความเป็นมาของละครประเภทเมโลดรามา ละครที่เรียกว่า เมโลดรามา ได้เริ่มพัฒนาแบบจริงจังใน ปลายยุโรปราว คริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยมีจุดเริ่มต้นในเยอรมันนีฝรั่งเศส และอังกฤษ และกลายเป็นเป็นละครที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายที่สุด ในซีกโลกตะวันตก มาตั้งแต่ต้น คริสต์ศตวรรษที่ 19 ใน ปัจจุบัน ด้วยสื่อของภาพยนตร์ วิทยุโทรทัศน์ ละครประเภทเมโลดรามาจึงได้แพร่ขยายไป ทั่วทุกมุมโลก และมีมากมายหลายแนว จนอาจกล่าวว่า ภาพยนตร์และ โทรทัศน์ที่เราได้ชมกันอยู่ทุกวันนี้ล้วนเป็นเรื่องประเภทเมโลดารามาทั้งสิ้น
สรุป สรุปแล้วเมโลดรามาคือละครที่เหมาะสำหรับคนที่ยังไม่ได้พัฒนา อย่างเต็มที่ใน ด้านสมอง ดังนั้นความต้องการของผู้ดูส่วนใหญ่จึงทำ ให้ละครสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18พัฒนา ไปสู่แนวที่เรียกว่า Sentimental Drama คือเป็นละครประเภทที่แฝงอารมณ์อ่อนไหว ซึ่ง ทั้งนี้ย่อมเป็นเครื่องที่แสดงให้เห็นว่า ละครเริงรมย์ประเภทเมโลด รามาคงจะไม่มีวันสูญหายไปจากโลกการละคร ตราบใดที่ยังมีผู้ชม คอยติดตามดูอยู่ มิใยที่นักวิจารณ์หรือนักศึกษาการละครจะพรการ ตำหนิติเตียนละครประเภทนี้ซักเพียงใด

ประเภทของละครตะวันตก
เทคนิคการจัดการแสดง

การจัดการแสดงไม่ว่าจะเป็นการแสดงที่เป็นเรื่องราว หรือไม่เป็นเรื่องราว สิ่งที่เป็นองค์ประกอบร่วมที่จะทำให้มีความประทับใจผู้ชม มีความสมจริงของเหตุการณ์ ต้องอาศัยองค์ประกอบการสร้างงานการแสดงที่เป็นการจัดฉาก การใช้เทคนิคแสง สี เสียง ตลอดจนการออกแบบเครื่องแต่งกาย การแต่งหน้า ทำผม องค์ประกอบเหล่านี้จัดเป็นองค์ประกอบที่มีส่วนทำให้การแสดงสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้นในการเรียนรู้เกี่ยวกับการแสดงจึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบเหล่านี้ให้เข้าใจ เพื่อสามารถนำไปใช้กับกิจกรรมด้านการแสดงได้เหมาะสม

ฉาก (Scenery)
การแสดงละครแม้มีเนื้อหาเรื่องราวที่ดี แต่ในการสร้างงานละครหากฉากที่ใช้ประกอบการแสดงดีก็จะช่วยให้การแสดงมีความสมจริงมากขึ้น การชมละครของผู้ชมก็จะได้อรรถรสจากการแสดงยิ่งขึ้นเช่นกัน การสร้างฉากละครนอกจากทำให้ผู้ชมเข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในละครแล้ว ฉากยังช่วยให้ภาพบนเวทีมีความงดงาม
การสร้างฉากประกอบการแสดงของไทยเริ่มมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ และได้มีพัฒนาการมาโดยตลอด ในช่วงแรกฉากที่ใช้ประกอบการแสดงของไทยนิยมอยู่ ๒ ลักษณะ คือ ฉากแบบแขวน และฉากแบบตั้ง การสร้างฉากต้องคำนึงถึงความสอดคล้อง ของเนื้อหาเรื่องราว เพื่อให้ละครดูโดเด่น และสมจริงได้
หน้าที่หลักที่สำคัญของฉากคือ เป็นสภาพแวดล้อมของตัวละคร และเป็นสถานที่สำหรับการแสดงซึ่งมีการออกแบบเพื่อเน้นให้เห็นถึงการกระทำ พฤติกรรม ตลอดจนความขัดแย้งของตัวละคร ฉากยังช่วยบอกสถานที่ของการแสดงละคร เวลาที่ชัดเจน ยุคสมัย ฤดูกาล การเปลี่ยนแปลงของกาลเวลา
การออกแบบฉากที่ดีจึงช่วยสร้างสีสันชีวิตชีวาให้แก่การผลิตการแสดง ช่วยให้การละครเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นเร้าใจแก่ผู้ชม เสื้อผ้านักแสดงจะดูดียิ่งขึ้นและดูเหมาะสมกับแบ็กกราวนด์เบื้องหลัง การเลือกใช้เครื่องประดับฉากช่วยให้ฉากและนักแสดงดูมีความสมบูรณ์และถูกต้องด้วยความหมาย และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (กฤษรา (ซูไรมาน):๒๕๕๑)

รูปแบบฉาก

คือลักษณะโครงสร้างด้านหน้าของฉาก ที่มีหลายส่วนประกอบกันเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นสถานที่ให้ตัวละคร รวมทั้งเป็นแบ็กกราวนด์ด้านหลังตัวละครที่อยู่บนเวที รูปแบบฉากจึงสามารถสื่อสถานที่และเหตุการณ์ต่าง ๆ ในฉากได้ชัดเจน จึงแบ่งออกได้ ๓ รูปแบบ คือ
๑. รูปแบบฉากภายใน (interior setting) จะแสดงให้เห็นถึงสถานที่ที่เป็นภายในอาคารสถานที่ต่าง ๆ เช่น ภายในที่พักอาศัย ในรถประจำทาง ในเรือ ฯลฯ
๒. รูปแบบฉากภายนอก (exterior setting) แสดงให้เห็นภายนอกสถานที่ต่าง ๆ เช่น สวนหน้าบ้าน ในป่า รั้วหน้าบ้าน ฯลฯ
๓. รูปแบบผสมฉากภายในกับฉากภายนอก (combination of interior and exterior setting) แสดงให้เห็นภายใน และภายนอกสถานที่ไปพร้อมกัน จะอาศัยการออกแบบแสงประกอบฉากให้สว่างเน้นจุดที่ต้องการให้เห็น หรืออาจแสดงให้เห็นทั้งภายในและภายนอกพร้อมกันก็จะมีการเปิดแสงประกอบให้เห็นรูปแบบฉากทั้งหมดเพื่อให้เห็นฉากโดยภาพรวมทั้งภายในภายนอกพร้อมกัน

สไตล์ (style)ของฉาก

เป็นแนวคิดในการออกแบบฉากให้มีลักษณะที่ต่างกันไปขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะเนื้อหาเรื่องราว หรือแนวในการนำเสนอละคร ซึ่งหากศึกษา สไตล์ของฉากจะพบว่ามีหลายสไตล์ ทั้งนี้เราจะศึกษาพอเป็นกรอบความรู้โดยกว้าง ได้แก่
๑. ฉากธรรมดา หรือพื้นฐาน (Naturalistic setting) เป็นฉากที่ออกแบบให้ภาพบนเวทีมีลักษณะบรรยากาศให้เหมือนจริงและเป็นธรรมชาติที่สุดโดยอาศัยโครงสร้างที่เป็นงานสถาปัตยกรรมเข้าร่วมและเพิ่มองค์ประกอบรายละเอียดต่าง ๆ ของฉาก บางครั้งภาพจึงมีลักษณะแบนราบขาดความเป็นมิติ การออกแบบง่ายนิยมใช้ฉากหลังเป็นสีพื้น หากใช้พื้นหลังเป็นสีดำเรียกว่า “คามิโอ” (cameo) จะใช้ไฟสปอตไลท์ประกอบเพราะสามารถควบคุมทิศทางของแสงและการกระจายแสงได้ดี หากใช้สีพื้นหลังเป็นสีอื่น เช่น แดง ฟ้า เขียว ฯลฯ เรียกว่า “ลิมโบ” (Limbo) จะใช้ไฟฟลัดไลท์ (Flood light) เพราะให้แสงที่มีการกระจายสม่ำเสมอ

๒. ฉากเหมือนจริง (realistic setting) เป็นการออกแบบฉากที่เน้นความเหมือนจริงตามธรรมชาติมากที่สุด ๘๐-๙๐ % การออกแบบจะอยู่บนรากฐานการเลียนแบบธรรมชาติของธรรมชาติโดยรักษารายละเอียดต่าง ๆ ของฉากอย่างพิถีพิถันและให้เหมาะสมลงตัวสมบูรณ์ที่สุดมีส่วนประกอบของงานสถาปัตยกรรมที่ครบถ้วนสมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็น ประตู หน้าต่าง กำแพง เพดานห้อง ฯลฯ และต้องตรงตามยุคสมัย สิ่งแวดล้อม เหตุการณ์ในเรื่อง เพราะต้องการความสมเหตุสมผลความถูกต้องเหมาะสมที่สุด

๓. ฉากไม่เหมือนจริง (nonrealistic setting) เป็นการออกแบบฉากที่สร้างบรรยากาศ หรือความคิดออกมาโดยให้ภาพมีลักษณะออกห่างจากความเป็นจริง จึงมีลักษณะเป็นนามธรรม เพื่อถ่ายทอดความหมายและอารมณ์ให้มีลักษณะเหนือความเป็นจริงและเป็นสไตล์ต่อต้านธรรมเนียมความเหมือนจริง แม้จะใช้โครงสร้างของวัตถุต่าง ๆ ที่เหมือนจริงแต่การใช้สีสัน ลายเส้น ภาพ และวัสดุจะเกินความเป็นจริง

การออกแบบฉาก

การสร้างฉากผู้สร้างฉากต้องมีความรู้ความเข้าใจในการอ่านงานออกแบบฉากที่คล้ายกับงานออกแบบก่อสร้าง แต่งานฉากจะเน้นความประณีตละเอียดในส่วนที่ผู้ชมมองเห็น การออกแบบฉากจึงมีส่วนสำคัญผู้ออกแบบฉากต้องศึกษาบทละครให้ละเอียดเพื่อให้เข้าใจและจินตนาการออกแบบฉากให้เหมาะสมกับเรื่องราว เหตุการณ์ และการนำเสนอละคร การออกแบบฉากแบ่งออกเป็น ๖ ลักษณะ ดังนี้ (บุญศิริ :๒๕๕๓)

๑. ฉากแบบบังคับ เป็นการสร้างฉากเพียงฉากเดียว ใช้แสดงได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าละครเรื่องนั้นจะเกิดขึ้นที่ใด ฉากเป็นเพียงเครื่องแบ่งเขตส่วนเวทีกับหลังโรง มีกำเนิดมาจากฉากละครโรมัน

๒. ฉากแบบสมจริง เป็นฉากละครที่สร้างขึ้นตามความเป็นจริงตรงกับยุคสมัย และเหตุการณ์ตามท้องเรื่องเหมือนจริงมากที่สุด เช่น ฉากละครของโรงละครแห่งชาติ เป็นต้น

๓. ฉากบรรยากาศ เป็นการสร้างฉากเพื่อความสะดวกในการแสดง มีการสร้างเพียงฉากเดียว อาศัย แสง สี สร้างบรรยากาศของท้องเรื่อง

๔. ฉากแบบสัญลักษณ์ เป็นการสร้างฉากแบบประหยัด มีจุดประสงค์ให้ผู้ชมสร้างจินตนาการประกอบกับการชมละคร ในฉากอาจจะมีเพียงบางสิ่งบางอย่าง เช่น ฉากทะเลทรายก็จะสร้างเพียงต้นตะบองเพชร หรือฉากชนบทก็มีกองฟาง เป็นต้น ฉากแบบนี้เหมาะสมแก่การแสดงโมเดิร์นด๊านซ์ (Modern dance)

๕. ฉากแบบนามธรรม เป็นการสร้างฉากจากความรู้สึก หรือความประทับใจ โดยจะสร้างฉากเกินความจริงที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยพบเห็นมาก่อน

๖. ฉากแบบจินตนาการ เป็นการสร้างฉากขึ้นจากจินตนาการของท้องเรื่อง ต้นไม้ ภูเขา ปราสาท สวรรค์ นรก ที่เกิดจากจินตนาการไม่เหมือนของจริง แต่ผู้ชมสามารถรับรู้และเข้าใจได้

การใช้สีในการออกแบบฉาก

๑. ไม่ใช้สีขาวจัด หรือดำสนิท เพราะกล้องถ่ายภาพไม่สามารถทำงานกับสีที่มีความสว่างสูงมาก หรือต่ำมากได้ดี

๒. ไม่ใช้สีอ่อนเกินไป หรือสีเข้มเกินไป เพราะสีอ่อนเมื่อโดนแสงจะกลืนไปกับสีขาว สีเข้มจะถูกดูดกลืนจากสีดำได้

๓. ไม่ใช้สีสะท้อนแสงบนฉาก หรือเครื่องประกอบฉาก ทำให้การวัดแสงเพื่อออกแบบแสงประกอบกอบฉากของกล้องวัดแสงจะวัดแสงโดยอัตโนมัติไปที่สีสะท้อน

๔. ระวังแสงสะท้อนที่เกิดจากวัสดุประกอบฉาก เมื่อโดนแสงไฟที่ส่องไปบนเวทีอาจสะท้อนโดนนักแสดง หรือวัสดุอื่น ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีบนใบหน้า เครื่องแต่งกาย และสีวัสดุผิดเพี้ยนไป

ฉากควรชี้นำสไตล์และรูปแบบการผลิตละครเรื่องนั้น ๆ และควรทำหน้าที่สร้างสรรค์บรรยากาศอารมณ์ และสีสันของละครทั้งเรื่อง จึงควรมีการสร้างและออกแบบที่ดีเหมาะสม เพราะปฎิกิริยาตอบโต้ของผู้ชมต่อตัวละครและบทละครสามารถเกิดขึ้นได้จากการสื่อนำด้วยฉาก ฉากจึงต้องสร้างขึ้นจากความต้องการและความตั้งใจของผู้เขียนบทละครและจากการตีความของผู้กำกับการแสดงด้วย รวมทั้งฉากควรเอื้ออำนวยต่อการแสดงและนักแสดงด้วยไม่ข่มตัวละคร ไม่เป็นอุปสรรคต่อการวางตำแหน่งตัวละครบนเวที ไม่ดึงความสนใจของผู้ชมไปจากตัวละครและการแสดง
การออกแบบฉากที่ดีจะช่วยสร้างสีสัน ชีวิตชีวาให้การผลิตการแสดง ทำให้ละครเป็นประสบการณ์ที่ตื่นเต้นเร้าใจสำหรับผู้ชม เสริมเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และการแสดงให้ดียิ่งขึ้น

แสง (Light)

ในการจัดการแสดงการจัดแสงประกอบเป็นส่วนสำคัญอีกองค์ประกอบหนึ่ง เพราะมีความสำคัญต่องานฉาก และการแสดงบนเวที ผู้ปฏิบัติงานบนเวทีไม่ว่าจะถือเป็นงานสมัครเล่น ก็ควรมีความรู้ความเข้าใจในงานด้านนี้บ้าง

ประโยชน์ของการจัดแสงบนเวที

๑. แสงบนเวทีช่วยให้ภาพที่ปรากฏบนเวทีมองเห็นได้ชัดเจน ทำให้ผู้ชมสามารถมองเห็นการเคลื่อนไหว การแสดงบทบาท และอารมณ์ของตัวละครได้ชัดเจน ทำให้ผู้ชมเข้าใจในบทบาทพฤติกรรมการแสดงของตัวละคร เข้าใจเหตุการณ์ในเรื่อง มองเห็นความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนเวที ภาพเหตุการณ์ ที่ปรากฏขึ้น จึงทำให้ผู้ชมเข้าใจ ประทับใจภาพที่ปรากฏบนเวที และเกิดความรู้สึกคล้อยตามกับบทบาทตัวละคร และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้

๒. บางครั้งในการสร้างฉากและอุปกรณ์ประกอบฉากอาจมีจุดด้อยปรากฏให้เห็นการใช้แสงประกอบสามารถช่วยแก้ไขความบกพร่องของงานฉากและอุปกรณ์บนเวทีให้ดูสมบูรณ์ขึ้น หรือช่วยลดความบกพร่องลงได้ ขณะเดียวกันการจัดแสงบนเวทีสามารถออกแบบได้เหมาะสมจะช่วยให้ภาพบนเวทีเกิดความโดดเด่น สวยงาม เกิดความสมดุลของฉาก และการแสดง ดังนั้นการใช้เทคนิคแสงบนเวที ผู้ออกแบบแสงต้องมีความเข้าใจในการนำสีเข้ามาประกอบ ตลอดจนเข้าใจวางจุดของแสงให้เหมาะสมด้วยเพื่อความสมบูรณ์ของงานการแสดงให้งดงามเหมาะสมมากขึ้น

๓. การจัดแสงที่เหมาะสม และเลือกใช้องค์ประกอบสีที่ถูกต้องจะช่วยทำให้วัตถุต่าง ๆ บนเวทีที่ใช้เป็นองค์ประกอบของฉากมีความเป็นมิติดูสมจริงมากขึ้น รวมทั้งสามารถสร้างบรรยากาศของฉากและเหตุการณ์ในฉากให้ดูกลมกลืนสมจริงยิ่งขึ้น ช่วยกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกและมีอารมณ์คล้อยตามไปกับบรรยากาศ เหตุการณ์ เรื่องราว และการดำเนินการแสดง เข้าใจในบรรยากาศ การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของเรื่องราวที่ชม มีจินตนาการร่วมในการแสดง เสริมให้ผู้ชมได้รับทั้งสุนทรียภาพ และสุนทรียะรสจากการชมการแสดงมากยิ่งขึ้น

ไฟที่ทำให้เกิดแสงบนเวที
ดวงไฟที่ทำให้เกิดแสงที่นิยมนำมาใช้ในการแสดงมีหลายลักษณะ จุดประสงค์ของการใช้ดวงไฟที่แตกต่างกันไปเพื่อต้องการให้ภาพบนเวทีมีความกลมกลืนกันมากที่สุด และออกมาได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของงาน ฉาก แสง สี ให้มากที่สุด จึงมีการนำเอาดวงไฟที่มีลักษณะ และการให้แสงหลายรูปแบบ

ละครสร้างสรรค์
ความเป็นมาของละครสร้างสรรค์
ละครสร้างสรรค์ (Creative Drama) คือ ละครที่ไม่มีรูปแบบ ไม่จำเป็นต้องจัดแสดงบนเวทีเน้นไปที่ผลสำเร็จของละครมากกว่า ละครสร้างสรรค์อาจจัดแสดงบริเวณที่โล่งกว้าง ผู้แสดงแต่งกายไม่หรูหรามากนัก ผู้แสดงควรฝึกการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ การมอง การดม การได้ยิน การสัมผัสและการลิ้มรส มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่คล่องแคล่ว แสดงท่าทางออกมาทางอารมณ์ได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน โดยส่วนใหญ่นิยมแสดงเป็นเรื่องราวเป็นบทบาทสมมุติ
ละครสร้างสรรค์ต่างจากละครทั่วไปเพราะเป็นละครที่ใช้ในการศึกษา โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ผ่านการแสดงบทบาทสมมุติ โดยเกิดจากความคิดและจินตนาการอย่างอิสระของผู้เรียน เป็นละครที่เน้นพัฒนาผู้เรียน
ปัจจุบันละครสร้างสรรค์ได้มีการพัฒนาให้มีความทันสมัยมากขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา เข้าใจและสนุกสนานในการเรียนมากขึ้น
องค์ประกอบของละครสร้างสรรค์
ละครสร้างสรรค์มีองค์ประกอบสำคัญที่ใช้ในการแสดง ดังนี้
๑. โครงเรื่อง หรือเนื้อเรื่อง (plot) จะต้องมีการวางโครงเรื่อง หรือเลือกเนื้อเรื่องที่จะใช้ในการแสดง เป็นเนื้อเรื่องที่สนุกสนานหรือเศร้า สอดแทรกข้อคิดต่างๆ
๒. ตัวละคร (Character) ตัวละครในการแสดงจะต้องมีการกำหนดบุคลิกลักษณะของตัวละครให้สอดคล้องกับเนื้อหาของเรื่อง และตัวละครอื่นๆต้องเลือกบุคคลที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครตัวนั้นได้สมจริง
๓. สถานการณ์ (Situation) คือ เหตุการณ์ เรื่องราวที่เกิดขึ้นทำให้ตัวละครต้องพบเจอ ซึ่งเหตุการณ์จะต้องสัมพันธ์กัน มีคุณค่าในเนื้อเรื่อง เป็นสถานการณ์ที่จะช่วยฝึกให้ผู้แสดงมีจินตนาการสร้างสรรค์ในการแสดงได้
๔. ความขัดแย้ง (Conflict) คือ การสร้างปัญหาความขัดแย้งให้กับตัวละคร แบ่งเป็นความขัดแย้งภายใจจิตใจของตัวละครเอง และความขัดแย้งภายนอกของตัวละครกับสิ่งรอบข้าง
๕. สถานที่ (place) คือ สถานที่ที่ใช้จัดการแสดง ควรเป็นสถานที่โล่งพอสมควร และบรรจุผู้ชมได้สะดวกสบาย
ในการจัดการแสดงละครสร้างสรรค์ ผู้ที่เกี่ยวข้องในการแสดงทุกฝ่ายจะต้องมีแนวคิดในทิศทางเดียวกัน มีความร่วมมือสามัคคีกัน เพื่อให้ละครที่แสดงประสบผลสำเร็จ และในการแสดงละครสร้างสรรค์บางครั้ง องค์ประกอบของการแสดงอาจไม่จำเป็นที่จะต้องละเอียดหรือมีมาก เช่น ฉาก อุปกรณ์การแสดง อาจถูกลดเป็นจำเป็นลงมา คือสามารถใช้ได้แต่ไม่จำเป็นต้องมีมากเกินไป
โครงเรื่อง / บทละคร
โครงเรื่องเรื่อง / บทละคร หมายถึง การลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีจุดหมายปลายทาง ทำให้ผู้ชมเข้าใจได้ว่าใครทำอะไร ด้วยจุดประสงค์อย่างไร มีอุปสรรคหรือไม่ และได้รับผลอย่างไร
องค์ประกอบของบทละครที่ดี
๑. โครงเรื่อง * ลำดับเหตุการณ์อย่างเป็นเหตุเป็นผลและมีจุดหมายปลายทางมีความยาวพอเหมาะ
๒. ตัวละคร * คือผู้กระทำหรือผู้ที่ได้รับผลจากการกระทำในบทละคร
๒.๑ ตัวละครแบบตายตัว / มองเห็นเพียงด้านเดียวมีนิสัยตามแบบฉบับนิยม เช่น พระเอก – นางเอก ผู้ร้าย ตัวอิจฉา
๒.๒ ตัวละครแบบเห็นได้รอบด้าน / เข้าใจได้ยากกว่าตัวละครแบบแรก นิสัยคล้ายคนจริงมีทั้งส่วนดี– ส่วนเสีย
๓. ความคิด * แง่คิดที่ผู้เขียนต้องการสื่อถึงผู้ชม
๔. การใช้ภาษา * บทเจรจาของตัวละครต้องเหมาะสมกับนิสัยของตัวละคร สื่อความได้กระจ่างชัด
๕. เพลง * เป็นส่วนหนึ่งของการถ่ายทอดเรื่องราว เช่น บทร้องของผู้แสดง เพลงประกอบหรือแม้แต่ ความเงียบเมื่อตัวละครได้รับข่าวร้าย
๖. ภาพ * คือ ภาพที่ปรากฏต่อผู้ชม อันเกิดมาจากผลรวมของทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการแสดงสามารถ วัดความชัดเจนได้จากความพึงพอใจของผู้ชม
การแสดง
ในการจัดการแสดงทุกชนิดต้องใช้บุคคลที่มีความรู้หลายแขนงมาทำงานร่วมกัน ซึ่งความสำเร็จของงานก็ขึ้นอยู่กับการเลือกผู้รับผิดชอบให้เหมาะกับงาน ประกอบกับการที่ทุกฝ่ายมีการประสานงานกันเป็นอย่างดี สามารถแบ่งตำแหน่งและหน้าที่ในการจัดการแสดงตามแขนงต่างๆได้ ดังนี้

ผู้อำนวยการแสดง
ผู้จัดหรือหัวหน้าที่มีอำนาจสูงสุดในการจัดการแสดง เป็นผู้วางจุดประสงค์ในการแสดง ดูแลเงินทุนและคอยแนะนำแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น
ผู้กำกับการแสดง
เป็นตัวจักรที่สำคัญที่สุดของการแสดง มีหน้าที่ฝึกซ้อมนักแสดงและควบคุมการแสดง
ผู้ช่วยผู้กำกับการแสดง
รับผิดชอบการแสดงทั้งหมด โดยประสานงานกับผู้กำกับเวที เป็นผู้ช่วยที่คอยรับคำสั่งจากผู้กำกับการแสดงมาดำเนินการต่อ
ผู้กำกับเวที
มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลกำกับทุกอย่างบนเวที เช่น ฉากอุปกรณ์การแสดง แสง สี เสียง
ผู้เขียนบท
เป็นหัวใจของการแสดง เพราะเป็นผู้สร้างโครงเรื่อง และเหตุการณ์ทั้งหมดในการแสดง
ผู้จัดการฝ่ายธุรการ
จัดการเกี่ยวกับธุรกิจการแสดง เช่น หาสถานที่แสดง จำหน่ายบัตร จัดที่นั่ง ทำสูจิบัตร
ฝ่ายเครื่องแต่งกายและแต่งหน้า
มีหน้าที่จัดเตรียมเครื่องแต่งกายผู้แสดงตามที่ผู้กำกับเวทีมอบหมายและแต่งหน้าทำผมให้กับนักแสดงในแต่ละฉาก
เจ้าหน้าที่เวที
ประสานงานกับผู้กำกับเวทีโดยทำหน้าที่จัดเวที ฉาก อุปกรณ์ประกอบฉาก เป็นต้น
นักแสดง
คือ ผู้สวมบทบาทเป็นตัวละครเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวความรู้สึกนึกคิดที่มีอยู่ในบทละครมาสู่ผู้ชม