1. วิวัฒนาการของการละครไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

1. สมัยน่านเจ้า
มีนิยายเรื่อง นามาโนห์รา เป็นนิยายของพวกไต หรือคนไทย ในสมัยน่านเจ้าที่มีปรากฏอยู่ ก่อนหน้านี้คือ การแสดงจำพวกระบำ เช่นระบำหมาก ระบำนกยุง
2. สมัยสุโขทัย
พบหลักฐาน การละครและฟ้อนรำ ปรากฏอยู่ในศิลาจาลึก ของพ่อขุนรามคำแหง กล่าว่า เมื่อจักเข้ามาเรียงกันแต่อรัญญิกพู้นเท้าหัวลานด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื้อน เสียงขับ ใครจักมักเหล้น เหล้นใครจักมักหัว หัวใครจักมักเลื้อน เลื้อน
จึงทำให้รับวัฒนธรรมของอินเดีย ผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นใหม่ เพื่อนใช้เรียกศิลปะการแสดงของไทย ว่า โขน ละคร ฟ้อนรำ
3.สมัยอยุธยา
มีการแสดงละครชาตรี ละครนอก ละครใน แต่เดิม ที่เล่นเป็นละครเร่ จะแสดงตามพื้นที่ว่างโดยไม่ต้องมีโรงละคร เรียกว่า ละครชาตรี ต่อมาได้มีการวิวัฒนาการ เป็นละครรำ เรียกว่า ละครใน ละครนอก โดยปรับปรุงรูปแบบ ให้มีการแต่งการที่ประณีตงดงามมากขึ้น มีดนตรีและบทร้อง และมีการสร้างโรงแสดง
ละครในแสดงในพระราชวัง จะใช้ผู้หญิงล้วน ห้ามไม่ให้ชาวบ้านเล่น เรื่องที่นิยมมาแสดงมี 3 เรื่องคือ อิเหนา รามเกียรติ์ อุณรุท ส่วนละครนอก ชาวบ้านจะแสดง ใช้ผู้ชายล้วนดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็ว
สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 เป็นสมัยที่โขนเจริญรุ่งเรื่องเป็นอย่างมาก มีละครเรื่องใหญ่ๆ อยู่ 4 เรื่อง คือ อิเหนา รามเกียรติ์ อุณรุท ดาหลัง
4. สมัยธนบุรี
สมัยนี้บทละครในสมัยอยุธยาได้สูญหายไป สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงรวบรวมศิลปิน บทละคร ที่เหลือมาทรงพระราชนิพนธ์บทละคร เรื่อง รามเกียรติ์ อีก 5 ตอนได้แก่
1.ตอนอนุมานเกี้ยวนางวานริน
2.ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ
3.ตอนทศกันฐ์ตั้งพิธีทรายกรด
4.ตอนพระลักษมณ์ถูกหอกกบิลพัท
5.ตอนปล่อนม้าอุปการ
นอกจากทรงพระราชนิพนธ์ บทละครในเรื่องรามเกียรติ์ด้วยพระองค์เองแล้ว พระองค์ยังทรง ฝึกซ้อม ด้วยพระองค์เองอีกด้วย
5. สมัยรัตนโกสินทร์
5.1 พระบาทสมเด็กพระพุทฑยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช(รัชกาลที่1)
สมัยนี้ได้ฟื้นฟูและรวบรวม สิ่งที่สูญหายให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นและรวบรวม ตำราการฟ้อนรำ ไว้เป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุดในประวัตืศาสตร์ พระองค์ทรงพัฒนาโขน โดยให้ผู้แสดงเปิดหน้าและสวมมงกุฎ หรือชฏา ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก
5.2 พระบาทสมเด็กพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่2)
สมัยนี้วรรณคดี และละครเจริญถึงขีดสุด พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงการแต่งกาย ให้เป็นการแต่งยืนเครื่อง แบบในละครใน ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนา ซึ่งเป็นละครที่ได้รับการยกย่องจาก วรรณคดีสโมสร ว่าเป็นยอดของบทละครรำ คือแสดงได้ครบองค์ 5 คือ ตัวละครงาม รำงาม ร้องเพราะ พิณพาทย์เพราะ และกลอนเพราะ เมื่อปี พ.ศ.2511 ยูเนสโก ได้ถวายพระเกียรติคุณแด่พระองค์ ให้ในฐานะบุคคลสำคัญ ที่มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ระดับโลก
5.3 พระบาทสมเด็กพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่3)
สมัยนี้พระองค์ ให้ยกเลิกละครหลวง พระบรมวงศานุวงศ์ จึงพากันฝึกหัดโขนละคร คณะละครที่มีแบบแผนในเชิงฝึกหัดและแสดง ทางโขน ละครถือเป็นแบบแผนในการปฏิบัติสืบต่อมา ถึงปัจจุบันได้แก่
1.ละครของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักขณาคุณ
2.ละครของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์
3.ละครของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศ
4.ละครของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษ์เทเวศร์
5.ละครของพระเข้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทรนกร กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์
6.ละครของเจ้าพระยาบดินทรเดชา
7.ละครของเจ้าจอมมารดาอัมพา
8.ละครเจ้ากรับ
5.4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่4)
ได้ฟื้นฟูละครหลวง ขึ้นใหม่อนุญาตให้ราษฎรฝึกละครในได้ ซึ่งแต่เดิมละครในจะแสดงได้แต่เฉพาะในพระราชวังเท่านั้น ด้วยเหตุที่ละครแพร่หลายไปสู้ประชาชนมากขึ้น จึงมีการบัญญัติข้อห้ามในการแสดงลำครที่มิใช่ละครหลวง ดังต่อไปนี้
1.ห้ามฉุดบุตรชาย-หญิง ผู้อื่นมาฝึกละคร
2.ห้ามใช้รัดเกล้ายอดเป็นเครื่องประดับศีรษะ
3.ห้ามใช้เครื่องประกอบการแสดงที่เป็นพานทอง หีบทอง
4.ห้ามใช้เครื่องประดับลงยา
5.ห้ามเป่าแตรสังข์
6.หัวช้างที่เป็นอุปกรณ์ในการแสดงห้ามใช้สีเผือก ยกเว้นช้างเอราวัณ
5.5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่5)
ในสมัยนี้สถาพบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า และขยายตัวอย่างรวดร็ว เพราะได้รับวัฒนธรรมจากตะวันตก ทำให้ศิลปะการแสดงละครได้มีวิวัฒนาการขึ้นอีกรูปแบบหนึ่ง นอกจากนี้ ยังกำเนิดละครดึกดำบรรพ์ และละครพันทางอีกด้วย นอกจากพระองค์ทรงส่งเสริมให้เอกชนตั้งคณะละครอย่างแพร่หลายแล้ว ละครคณะใดที่มีชื่อเสียงแสดงได้ดี พระองค์ทรงเสด็จมาทอดพระเนตร และโปรดเกล้าฯ ให้แสดงในพระราชฐานเพื่อเป็นการต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองอีกด้วย
5.6พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่6)
ในสมัยนี้เป็นสมัยที่โขน ละคร ดนตรี ปี่พาทย์เจริญถึงขีดสุด พระองค์ทรงเป็นราชาแห่งศิลปิน แม้ว่าจะมีประสมการณ์ด้านละครพูดแบบตะวันตก แต่ก็ทรงมีพระราชปณิธานอันแรงกล้า ที่จะทรงไว้ซึ่ง “ความเป็นไทย “ และดนตรีปี่พาทย์ ทั้งยังทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้แก่ศิลปินโขนที่มีฝีมือให้เป็นขุนนาง เช่น พระยานัฏกานุรักษ์ พระยาพรหมาภิบาล เป็นต้น
5.7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(ราชกาลที่7)
สมัยนี้ประสมภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การเมืองเกิดการคับขัน จึงได้มีการปรับปรุงระบบบริหาร ราชการกระทรวงวังครั้งใหญ่ ให้โอนงานช่างกองวังนอก และกองมหรสพไปอยู่ในสังกัดของกรมศิลปากร และการช่างจึงย้ายมาอยู่ในสังกัดของกรมศิลปากร ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2478 โขนกรมมหรสพ กระทรวงวังจึงกลายเป็น โขนกรมศิลปากร มาแต่ครั้งนั้น ในสมัยนี้มีละครแนวใหม่เกิดขึ้น ที่เรียกว่า ละครเพลง หรือที่รู้จักกันว่า ละครจันทโรภาส
5.8พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล(รัชกาลที่8)
ในสมัยนี้การแสดงนาฎศิลป์ โขน ละคร จัดอยู่ในการกำกับดูแลของกรมศิลปากร หลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีคนแรกของกรมศิลปากรได้ฟื้นฟู เปลี่ยนแปลงการแสดงโขน ละครในรูปแบบใหม่ โดยจัดตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ขึ้น เพื่อให้การศึกษาทั้งด้านศิลปะและสามัญ และเพื่อยกระดับศิลปินให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ ในสมัยนี้ได้เกิดละครรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า ละครหลวงวิจิตรวาทการ เป็นละครที่มีแนวคิดปลุกใจให้รักชาติ บางเรื่องเป็นละครพูด เช่น เรื่องราชมนู เรื่องศึกถลาง เรื่องพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นต้น
5.9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช(รัชกาลที่9)
ในสมัยนี้พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้บันทึกภาพยนตร์สีส่วนพระองค์ บันทึกท่ารำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ท่ารำเพลงหน้าพาทย์ของพระ นาง ยักษ์ ลิง และโปรดเกล้าฯ ให้จักพิธีไหว้ครู อีกทั้งยังมีการปลูกฝังจิตสำนึกในการร่วมกันอนุรักษ์ สืบสาน สืบทอด และพัฒนาศิลปะการแสดงของชาติผ่านการเรียนการสอนในระดับการศึกษาทุกระดับ มีสถาบันที่เปิดสอนวิชาการละครเพิ่มมากขึ้นทั้งของรัฐและเอกชน มีรูปแบบในการแสดงลำครไทยที่หลากหลายให้เลือกชม เช่น ละครเวที ละครพูด ละครร้อง ละครรำ เป็นต้น

ประเภทของนาฏศิลป์ไทย
นาฎศิลป์ คือ การร่ายรำที่มนุษย์ได้ปรุงแต่งจากลีลาตามธรรมชาติให้สวยสดงดงาม โดยมีดนตรีเป็นองค์ประกอบในการร่ายรำ
นาฎศิลป์ของไทย แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดงเป็นประเภทใหญ่ ๆ 4 ประเภท คือ
1. โขนเป็นการแสดงนาฎศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์ คือ ผู้แสดงจะต้องสวมหัวที่เรียกว่า หัวโขน และใช้ลีลาท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์ การเจรจาของผู้พากย์และตามทำนองเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ เรื่องที่นิยมนำมาแสดง คือ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ แต่งการเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ที่เป็นเครื่องต้น เรียกว่าการแต่งกายแบบ “ยื่นเครื่อง” มีจารีตขั้นตอนการแสดงที่เป็นแบบแผน นิยมจัดแสดงเฉพาะพิธีสำคัญได้แก่ งานพระราชพิธีต่าง ๆ
2. ละครเป็นศิลปะการร่ายรำที่เล่นเป็นเรื่องราว มีพัฒนาการมาจากการเล่านิทาน ละครมีเอกลักษณ์ในการแสดงและการดำเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่ารำ เข้าบทร้อง ทำนองเพลงและเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ มีแบบแผนการเล่นที่เป็นทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า ละครโนราชาตรี ละครนอก ละครใน เรื่องที่นิยมนำมาแสดงคือ พระสุธน สังข์ทอง คาวี อิเหนา อุณรุท นอกจากนี้ยังมีละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด การแต่งกายของละครจะเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า การแต่งการแบบยืนเครื่อง นิยมเล่นในงานพิธีสำคัญและงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์
3. รำ และ ระบำเป็นศิลปะแห่งการร่ายรำประกอบเพลงดนตรีและบทขับร้อง โดยไม่เล่นเป็นเรื่องราว ในที่นี้หมายถึงรำและระบำที่มีลักษณะเป็นการแสดงแบบมาตรฐาน ซึ่งมีความหมายที่จะอธิบายได้พอสังเขป ดังนี้
3.1 รำหมายถึง ศิลปะแห่งการรายรำที่มีผู้แสดง ตั้งแต่ 1-2 คน เช่น การรำเดี่ยว การรำคู่ การรำอาวุธ เป็นต้น มีลักษณะการแต่งการตามรูปแบบของการแสดง ไม่เล่นเป็นเรื่องราวอาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้ากับทำนองเพลงดนตรี มีกระบวนท่ารำ โดยเฉพาะการรำคู่จะต่างกับระบำ เนื่องจากท่ารำจะมีความเชื่อมโยงสอดคล้องต่อเนื่องกัน และเป็นบทเฉพาะสำหรับผู้แสดงนั้น ๆ เช่น รำเพลงช้าเพลงเร็ว รำแม่บท รำเมขลา –รามสูร เป็นต้น
3.2 ระบำ หมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้เล่นตังแต่ 2 คนขึ้นไป มีลักษณะการแต่งการคล้ายคลึงกัน กระบวนท่ารายรำคล้าคลึงกัน ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี ซึ่งระบำแบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ การแต่งการนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระนาง-หรือแต่งแบบนางในราชสำนัก เช่น ระบำสี่บท ระบำกฤดาภินิหาร ระบำฉิ่งเป็นต้น
4. การแสดงพื้นเมือง
เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีทั้งรำ ระบำ หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นภูมิภาคได้ 4 ภาค ดังนี้
4.1 การแสดงพี้นเมืองภาคเหนือ เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ เช่น ชาวไต ชาวลื้อ ชาวยอง ชาวเขิน เป็นต้น ลักษณะของการฟ้อน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณีหรือต้นรับแขกบ้านแขกเมือง ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนสาวไหมและฟ้อนเจิง
4.2 การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง เป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศการฤดูเก็บเก็บเกี่ยว เช่น การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว รำโทนหรือรำวง รำเถิดเทอง รำกลองยาว เป็นต้น มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง
4.3 การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน เป็นศิลปะการรำและการเล่นของชาวพื้นบ้านภาคอีสาน หรือ ภาคตะวนออกเฉียงเหนือของไทย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ คือ กลุ่มอีสานเหนือ มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า “เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ” เช่น เซิ้งบังไฟ เซิ้งสวิง ฟ้อนภูไท ลำกลอนเกี้ยว ลำเต้ย ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบ ได้แก่ แคน พิณ ซอ กลองยาว อีสาน ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และกรับ ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย ส่วนกลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลไทยเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า เรือม หรือ เร็อม เช่น เรือมลูดอันเร หรือรำกระทบสาก รำกระเน็บติงต็อง หรือระบำตั๊กแตน ตำข้าว รำอาไย หรือรำตัด หรือเพลงอีแซวแบบภาคกลางวงดนตรี ที่ใช้บรรเลง คือ วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี คือ ซอด้วง ซอด้วง ซอครัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาด เอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒนธรรมของพื้นบ้าน ลักษณะท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว และสนุกสนาน

4.4 การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่มคือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา และวัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ เช่น กลองโนรา กลองโพน กลองปืด โทน ทับ กรับพวง โหม่ง ปี่กาหลอ ปี่ไหน รำมะนา ไวโอลิน อัคคอร์เดียน ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต ศิลปาต่างๆ เข่น ระบำร่อนแต่ การีดยาง ปาเตต๊ะ เป็นต้น

ประเภทของนาฏศิลป์ไทย
นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1.รำ คือการแสดงที่มุ่งเน้นถึงศิลปะท่วงท่า ดนตรี ไม่มีการแสดงเป็นเรื่องราว รำบางชุดเป็นการชมความงาม บางชุดตัดตอนมาจากวรรณคดี หรือบางทีก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีเนื้อเพลงเช่นการรำหน้าพาทย์เป็นต้น รำจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
1.1 รำเดี่ยว เป็นการแสดงที่มุ่งอวดศิลปะทางนาฏศิลป์อย่างแท้จริงชึ่งผู้รำจะต้อมมีผีมือดีเยี่ยม เพราะเป็นการแสดงที่แสดงแต่เพียงผู้เดียว รำเดี่ยวโดยส่วนมากก็จะเป็นการรำฉุยฉายต่างๆ เช่น ฉุยฉายเบญจกาย ฉุยฉายวันทอง ฯลฯ เป็นต้น
1.2 รำคู่ การแสดงชุดนี้ไม่จำเป็นจะต้องพร้อมเพียงกันแต่อาจมีท่าที่เหมือนก็ได้ เพราะการรำคู่นี้เป็นการใช้ลีลาที่แตกต่างกันระหว่างผู้แสดงสองคน เช่นตัวพระ กับตัวนาง หรือบทบาทของตัวแสดงนั้น รำคู่นี้ก็จะแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ 1.2.1 รำคู่สวยงามจากวรรณคดี เช่น หนุมานจับนาสุพรรณมัจฉา เป็นต้น 1.2.2 รำมุ่งอวดการใช้อุปกรณ์ เช่น การรำอาวุธ รำกระบี่กระบอง
1.3 รำหมู่ รำชุดนี้เป็นการรำที่เน้นความพร้อมเพรียง เช่นรำอวยพรชุดต่างๆ
1.4 รำละคร คือการรำที่ใช้ในการแสดงละครหรือโขน เป็นการแสดงท่าท่างสื่อความหมายไปกับบทร้อง หรือบทละคร และเพลงหน้าพาทย์ต่างๆในการแสดงละคร
2.ระบำ คือการแสดงที่มีความหมายในตัวใช้ผู้แสดงสองคนขึ้นไป คือผู้คิดได้มีวิสัยทัศน์และต้องการสื่อการแสดงชุดนั้นผ่านทางบทร้อง เพลง หรือการแต่งกายแบบ ที่มาจากแรงบัลดาลใจ จากเรื่องต่างๆเช่นวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และเป็นการแสดงที่จบในชุดๆเดียว เป็นต้น ระบำ จะแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ
2.1 ระบำมาตรฐาน เป็นระบำที่บรมครูทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นไว้ ทั้งเรื่องเพลง บทร้อง การแต่งกาย ท่ารำ ซึ่งไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ระบำมาตรฐานจะมีอยู่ทั้งหมด 6ชุด คือ ระบำสี่บท ระบำย่องหงิดหรือยู่หงิด ระบำพรมมาตร ระบำดาวดึงส์ ระบำกฤษดา ระบำเทพบันเทิง
2.2 ระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เป็นระบำที่บรมครูหรือผู้รู้ทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นและปรับปรุงชึ้นมาใหม่ ชึ่งสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามโอกาส อาจเป็นระบำที่ได้แรงบัลดาลใจที่ผู้ประดิษฐ์ต้องการสื่ออาจเป็นเรื่องของการแต่งกาย วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ระบำปรับปรุงมีอยู่หลากหลายเช่น ระบำชุมนุมเผ่าไทย ระบำไกรราศสำเริง ระบำไก่ ระบำสุโขทัย ฯลฯ เป็นต้น
ฟ้อน และ เซิ้ง ก็จัดว่าเป็นระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เพราะผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นขึ้นมา มีการแต่งการตามท้องถิ่นเพราะการแสดงแต่ละชุดได้เกิดขึ้นมาจากแรงบัลดาลใจของผู้คิดที่จะถ่ายทอดไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิถีชีวิต การแต่งกาย ดนตรี เพลง และการเรียกชื่อการแสดงนั้น จะเรียกตาม ภาษาท้องถิ่น และการแต่งกายก็แต่งกายตามท้องถิ่น เช่นภาคเหนือก็จะเรียกว่าฟ้อน เช่นฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ภาคอิสานก็จะเรียกและแต่งกายตามท้องถิ่น ทางภาคอิสานเช่น เซิ้งกะติ๊บข้าว เซิ้งสวิง เป็นต้น การแสดงต่างๆล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นมาจากท้องถิ่นและแต่งกายตามท้องถิ่นไม่ได้มีหลักหรือ เกณฑ์ที่ใช้กันโดยทั่วไปในวงการนาฏศิลป์ไทยทั่วประเทศสามารถปรับปรุงหรื่อเปลี่ยนแปลงได้ตามโอกาสที่แสดง จึงถือว่า การฟ้อนและการเซิ้งเป็นระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่
3. ละคร คือการแสดงเรื่องราวโดยมีตัวละครต่างดำเนินเรื่องมีผูกเหตุหรือการผูกปมของเรื่อง ละครอาจประกอบไปด้วยศิลปะหลายแขนงเช่น การรำ ร้อง หรือดนตรี ละครจะแบ่งออกเป็นสองประเภทได้แก่ 3.1 ละครแบบดั้งเดิม มีอยู่สามประเภท คือ โนห์ราชาตรี ละครนอก ละครใน 3.2 ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ มีอยู่หกประเภท ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง ละครเสภา ละครพูด ละครร้อง ละครสังคีต
4.มหรสพ' คือการแสดงรื่นเริง หรือการแสดงที่ใช้ในงานพิธีต่างๆ มีรูปแบบและวิธีการแสดงที่เป็นแบบแผน เช่น การแสดงโขน หนังใหญ่เป็นต้น

โขนตอนพระรามตามกวาง

เป็นตอนหนึ่งของการแสดงโขนชุดรามเกียรติ์ กล่าวถึง กวางทอง คือ มารีจพระยายักษ์เป็นลูกของนางกากนาสูร ซึ่งรับพระราชบัญชาของทศกัณฐ์ แปลงกายเป็นกวางทอง มาล่อหลอกให้นางสีดาเกิดความรักใคร่อยากได้ พระรามจึงเสด็จตามกวางทองไปในป่า จุดเด่นของการแสดงชุดนี้อยู่ที่ ท่ารำของพระรามและกวางทอง ที่หนีและไล่ในท่วงทีลีลานาฏศิลป์โขน ตามทำนองและจังหวะเพลง โดยเฉพาะในเพลงหน้าพาทย์เชิดฉาน ซึ่งมีท่วงทำนองที่ระทึกใจ ตื่นเต้น เมื่อกวางทอง

การรำหมู่
การรำหมู่ คือ การแสดงที่ใช้ผู้แสดงมากกว่า ๒ คนขึ้นไป มุ่งความงามของท่ารำและความพร้อมเพรียงของผู้แสดง เช่น รำโคม รำพัด รำซัดชาตรี เป็นต้น ในกรณีที่นำการแสดงที่ตัดตอนมาจากการแสดงละคร และการรำนั้นเป็นการรำของตัวละครตัวเดียวมาก่อน เมื่อนำมารำเป็นหมู่ก็ยังคงเรียกว่ารำตามเดิม เช่น รำสีนวล รำแม่บท
รำสีนวล เป็นการรำประเภทการละเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวไทยในภาคกลาง เนื่องจากการรำสีนวลเป็นศิลปะที่สวยงาม ทั้งท่ารำและเพลงขับร้อง จึงพัฒนามาเป็นชุดสำหรับจัดแสดงในงานทั่วๆ ไป และนับเป็นการแสดงนาฏศิลป์อีกชุดหนึ่ง ที่นิยมแพร่หลายเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ลักษณะท่ารำและคำร้องของรำสีนวลมีความหมายถึงอิริยาบถที่นุ่มนวลอ่อนช้อยของกุลสตรี
รำกลองยาว
ประวัติความเป็นมาการเล่นเถิดเทิง มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นของพม่านิยมเล่นกันมาก่อน เมื่อครั้งพม่ามาทำสงครามกับไทย ในสมัยกรุงธนบุรี หรือสมัยต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เวลาพักรบพวกทหารพม่าก็เล่นสนุกสนานด้วยการเล่น ต่าง ๆ ซึ่งทหารพม่าบางพวกก็เล่น “กลองยาว” พวกไทยเราได้เห็นก็จำมาเล่นกันบ้าง ยังมีเพลงดนตรีเพลงหนึ่งซึ่งดนตรีไทยนำมาใช้บรรเลง มีทำนองเป็นเพลงพม่า เรียกกันมาแต่เดิมว่า เพลงพม่ากลองยาว ต่อมาได้มีผู้ปรับเป็นเพลงระบำ กำหนดให้ผู้รำแต่งตัวใส่เสื้อนุ่งโสร่งตา ศีรษะโพกผ้าสีชมพู (หรือสีอื่น ๆ บ้างตามแต่จะให้สีสลับกัน เห็นสวยอย่างแบบระบำ)มือถือขวานออกมาร่ายรำเข้ากับจังหวะเพลงที่กล่าวนี้ จึงเรียกเพลงนี้กันอีกชื่อหนึ่งว่า เพลงพม่ารำขวาน
อีกความหนึ่งมีผู้กล่าวว่า การเล่นเทิงบ้องกลองยาวนี้ เพิ่งมีเข้ามาในเมืองไทยเมื่อสมัยรัชกาลที่ 4 กรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง กล่าวคือ มีพม่าพวกหนึ่งนำเข้ามาในรัชกาลนั้น ยังมีบทร้องกราวรำยกทัพพม่า ในการแสดงละครเรื่องพระอภัยมณี ตอน เก้าทัพ ซึ่งนิยมเล่นกันมาแต่ก่อน สังเกตดูก็เป็นตำนานอยู่บ้างแล้ว คือ ร้องกันว่า
ทุงเล ฯ ทีนี้จะเห่พม่าใหม่
ตกมาเมืองไทย มาเป็นผู้ใหญ่ตีกลองยาว
ตีว่องตีไวตีได้จังหวะ ทีนี้จะกะเป็นเพลงกราว
เลื่องชื่อลือฉาว ตีกลองยาวสลัดได ๆ

เมื่อชาวไทยเราเห็นเป็นการละเล่นที่สนุกสนานและเล่นได้ง่าย ก็เลยนิยมเล่นกันแพร่หลายไปแทบทุกหัวบ้านหัวเมือง สืบมาจนตราบทุกวันนี้ กลองยาวที่เล่นกันในวงหนึ่ง ๆ มีเล่นกันหลายลูกมีสายสะพายเฉวียงป่าของผู้ตี ลักษณะรูปร่างของกลองยาวขึงหนังด้านเดียวอีกข้างหนึ่งเป็นหางยาว บานปลายเหมือนกับกลองยาวของชาวเชียงใหม่ แต่กลองยาวของชาวเชียงใหม่เป็นกลองยาวจริง ๆ ยาวถึงประมาณ 2 วา ส่วนกลองยาวอย่างที่เล่นกันนี้ ยาวเพียงประมาณ 3 ศอกเท่านั้น ซึ่งสั้นกว่าของเชียงใหม่มาก ทางภาคอีสานเรียกกลองยาวชนิดนี้ว่า กลองหาง
กลองยาวแบบนนี้ของพม่าเรียกว่า โอสิ มีลักษณะคล้ายคลึงกับของชาวไทยอาหมในแคว้นอัสสัม เว้นแต่ของชาวไทยอาหมรูปร่างคล้ายตะโพน คือ หัวท้ายเล็ก กลางป่องใบเล็กกว่าตะโพน ขึ้นหนังทั้งสองข้าง ผูกสายสะพายตีได้ ตามที่เห็นวิธีเล่นทั้งกลองยาวของพม่าและกลองของชาวไทยอาหม ดูวิธีการเล่นเป็นแบบเดียวกัน อาจเลียนแบบการเล่นไปจากกันก็ได้
เมื่อรัฐบาลไทยมอบให้คณะนาฏศิลป์ของกรมศิลปากรไปแสดงเพื่อเชื่อมสัมพันธ ไมตรี ณ นครย่างกุ้งและมัณฑเลย์ ระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายน พ.ศ.2509 ทางรัฐบาลพม่าได้จัดนักโบราณคดีพม่าผู้หนึ่งเป็นผู้นำชมพิพิธภัณฑ์สถานและ โบราณสถานเรื่องกลองยาวได้กล่าวว่า พม่าได้กลองยาวมาจากไทยใหญ่อีกต่อหนึ่ง
การละเล่นประเภทนี้ว่า เถิดเทิง เทิงบ้องนั้น คงเรียกตามเสียงกลองยาว กล่าวคือ มีเสียงเมื่อเริ่มตีเป็นจังหวะ หูคนไทยได้ยินเป็นว่า “เถิด-เทิง-บ้อง-เทิง-บ้อง” ก็เลยเรียกตามเสียงที่ได้ยินว่าเถิดเทิง หรือเทิงบ้องกลองยาวตามกันไป เพื่อให้ต่างกับการเล่นอย่างอื่น

ลักษณะการแสดง
ก่อนเล่นมีการทำพิธีไหว้ครู มีดอกไม้ธูปเทียน เหล้าขาว บุหรี่และเงินค่ายกครู 12 บาท การไหว้ครูใช้การขับเสภา เมื่อไหว้ครูแล้วจะโห่ขึ้น 3 ลา แล้วเริ่มแสดง โดยนักดนตรีประกอบเริ่มบรรเลงผู้ร่ายรำก็จะเดินและร่ายรำไปตามจังหวะกลอง มีท่าร่ายรำทั้งหมด 33 ท่า ท่าที่หวาดเสียวและตื่นเต้นมากที่สุดก็เห็นจะเป็นท่าที่ 30 - 31 คือท่าที่มีการต่อกลองขึ้นไป 3 ใบ ให้ผู้แสดงคนหนึ่งขึ้นไปยืนบนกลองใบที่ 3 แล้วควงกลอง และคาบกลอง ซึ่งผู้แสดงต้องใช้ความสามารพิเศษเฉพาะตัว ผู้ตีกลองยาวบางพวกก็ตีหกหัวกัน แลบลิ้นปลิ้นตา กลอกหน้ายักคิ้ว ยักคอไปพลาง และถ้าผู้ตีคนใดตีได้จนถึงกับถองหน้ากลองด้วยศอก โขกด้วยคาง กระทุ้งด้วยเข่า โหม่งด้วยเข่า โหม่งด้วยหัว เล่นเอาผู้ตีคลุกฝุ่นคลุกดินขะมุกขะมอมไปทั้งตัวสุดแต่จะให้เสียงกลองยาวดัง ขึ้นได้เป็นสนุกมาก และนิยมกันว่าผู้ตีกลองยาวเก่งมากผู้เล่นก็ภูมิใจ นอกจากนั้นก็มีคนรำแต่งตัวต่าง ๆ สุดแต่สมัครใจ คนดูคนใดรู้สึกสนุกจะเข้าไปร่วมรำด้วยก็ได้เพราะเป็นการเล่นอย่างชาวบ้าน ใครจะสมัครเข้าร่วมเล่นร่วมรำด้วยก็ได้ บางคนก็แต่งตัวพิสดาร ผัดหน้าทาตัวด้วยแป้งด้วยเขม่าดินหม้อ หน้าตาเนื้อตัวดำด่าง สุดแต่จะให้คนดูรู้สึกทึ่งและขบขัน ออกมารำเข้ากับจังหวะเทิงบ้อง แต่ที่แต่งตัวงาม ๆ เล่นและรำกันเรียบ ๆ น่าดูก็มี เช่นที่ปรับปรุงขึ้นเล่นโดยศิลปินของกรมศิลปากร และมีผู้นำแบบอย่างไปเล่นแพร่หลายอยู่ในสมัยนี้
เพราะฉะนั้นการเล่น ย่อมเป็นส่วนของวัฒนธรรมที่แสดงออกมา จะเป็นวัฒนธรรมอยู่ในระดับใดก็แล้วแต่สถานที่และโอกาสเหมาะกับถิ่นหนึ่งแต่ ไม่เหมาะกับอีกถิ่นหนึ่งก็ได้ ถ้าปรับให้มีลักษณะเหมือนกันตลอดทุกถิ่น ก็ไม่เป็นความเจริญในทางวัฒนธรรม ความเจริญของวัฒนธรรมอยู่ที่แปลก ๆ ต่าง ๆ กัน แต่ว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในส่วนรวม และรู้จักดัดแปลงแก้ไขให้เหมาหะกับความเป็นอยู่ของแต่ละท้องถิ่นตามกาลสมัย แต่ไม่ทำลายลักษณะอันเป็นเอกเทศของแต่ละถิ่นให้สูญไป เปรียบเหมือนเป็นคนไทยด้วยกัน

โอกาสที่แสดง
ประเพณีเล่น “เถิดเทิง”หรือ “เทิงบ้องกลองยาว” ในเมืองไทยนั้น มักนิยมเล่นกันในงานตรุษ งานสงกรานต์ หรือในงานแห่งแหน ซึ่งต้องเดินเคลื่อนขบวน เช่น ในงานแห่นาค แห่พระ และแห่กฐิน เป็นต้น เคลื่อนไปกับขบวน พอถึงที่ตรงไหนเห็นว่ามีลานกว้างหรือเป็นที่เหมาะก็หยุดตั้งวงเล่นรำกันเสีย พักหนึ่ง แล้วก็เคลื่อนขบวนต่อไปใหม่แล้วก็มาหยุดตั้งวงเล่นและรำกันอีก การเล่นเถิดเทิงของกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ จะแต่งตัวแบบไทย ๆ แต่ยังเป็นประเพณีดั้งเดิม คือยังใช้โพกหัวด้วยผ้าแพรบาง ๆ ตามแบบพม่าอยู่ นอกจากนี้ ก็เพิ่มผู้รำฝ่ายหญิงแต่งตัวงดงามแบบหญิงไทย กำหนดแบบแผนลีลาท่ารำ โดยกำหนดให้มีกลองรำ กลองยืน เป็นต้น

กลองรำ หมายถึง ผู้ที่จะแสดงลวดลายในการตีบทพลิกแพลงต่าง ๆ เช่น ถองหน้า กลองด้วยศอก กระทุ้งด้วยเข่า เป็นต้น
กลองยืน หมายถึง ผู้ตีกลองยืนจังหวะให้การแสดงดำเนินไปอย่างเรียบร้อย ในขณะที่กลองรำวาดลวดลายรำต้อนนางรำอยู่ไปมา
การเล่นเถิดเทิงแบบนี้มีมาตรฐานตายตัว ผู้เล่นทั้งหมดต้องได้รับการฝึกฝนมาก่อนถึงจะแสดงได้เป็นระเบียบและน่าดู คนดูจะได้เห็นความงามและได้รับความสนุกสนานแม้จะไม่ได้ร่วมวงเล่นด้วยก็ตาม

การแต่งกาย
ในสมัยปัจจุบันกรมศิลปากรได้ปรับปรุงการแต่งกายและกำหนดไว้เป็นแบบฉบับ คือ
1. ชาย นุ่งกางเกงขายาวครึ่งแข้ง สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น เหนือศอก มีผ้าโพกศีรษะและผ้าคาดเอว
2. หญิง นุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด ผ่าอกหน้า ห่มสไบทับเสื้อ สวมสร้อยตัวคาดเข็มขัดทับนอกเสื้อ สร้อยคอ และต่างหู ปล่อยผมทัดดอกไม้ด้านซ้าย

ดนตรีที่ใช้
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเล่นก็มีกลองยาว ( เล่นกันหลาย ๆ ลูกก็ได้) เครื่องประกอบจังหวะ มี ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง มีประมาณ 4 คน คนตีกลองยืน 2 คน คนตีกลองรำ 2 คน และหญิงที่รำล่ออีก 2 คน

สถานที่แสดง
แสดงในบริเวณพื้นลานกว้าง ๆ หรือบนเวที

จำนวนผู้แสดง
จำนวนผู้แสดงจะมีเป็นชุดราว 10 คน เป็นอย่างน้อยมีผู้บรรเลงดนตรี 4 คน คนตีกลองยืน 2 คน คนตีกลองรำ 2 คน และหญิงที่รำล่ออีก 2 คน
เวลาแสดงพวกตีเครื่องประกอบจังจะทำหน้าร้องประกอบเร่งเร้าอารมณ์ให้สนุกสนาน ไปในขณะตีด้วย คำที่ใช้ร้องเดิมมีหลายอย่าง แต่ที่ใช้ร้องขณะนี้มีอยู่ไม่กี่อย่าง ขอยกตัวอย่างบทร้องมาให้ดูดังนี้
1) มาแล้วโหวย มาแล้ววา มาแต่ของเขา ของเราไม่มา ตะละล้า หรือมาแล้วโหวย มาแล้ววา มาแต่ป่า รอยตีนโตโต
2) ต้อนเข้าไว้ ต้อนเข้าไว้ เอาไปบ้านเรา บ้านเราคนจนไม่มีคนหุงข้าว ตะละล้า หรือต้อนเข้าไว้ ต้อนเข้าไว้ เอาไปบ้านเรา พ่อก็แก่แม่ก็เฒ่า เอาไปหุงข้าวให้พวกเรากิน ตะละล้า
3)ใครมีมะกรูด มาแลกมะนาว ใครมีลูกสาว มาแลกลูกเขย เอาวะ เอาเหวย ลูกเขยกลองยาว ตะละล้า

แต่งเนื่องจากคนไทยเรามีนิสัยเจ้าบทเจ้ากลอนจึงมักย้ายถ่ายเทการร้องให้แปลกออกไปหรือให้พิลึกพิลั่นเล่นตามอารมณ์ เช่น
“ใครมีมะกรูด มาแลกมะนาว” แล้วแทนที่จะร้องแบบเดิมก็ร้องกลับไปมาว่า
“ใครมีมะนาว มาแลกมะกรูด” แล้วย้ำว่า “มะกรูด ๆ ๆ ๆ มะนาว ๆ ๆ ๆ” ดังนี้ เป็นต้น